aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
กาแฟสำเร็จรูปผสมเห็ดหลินจือสกัดชนิดผง ตรา "NEO...O"
น้ำหนักสุทธิ์ / กล่อง : 180 กรัม ( 18 กรัม X 10 ซอง)
เลข ทะเบียน อย.
 
 
กาแฟผสมเห็ดหลินจือสกัดชนิดผง ตรา NEO...O บรรจุ 10 ซองๆ ละ 18 กรัม
ผลิตโดย : หจก.มาวาลิค ฟู้ด / ภูพระยาสมุนไพร , เครื่องดื่มข้าวกล้องเพาะงอก , 5 สายพันธุ์ , พูริ
เป็นสินค้าที่ได้เปิดตัวใหม่ หลังจากได้ทำการวิจัยเป็นที่พอใจมากๆ เนื่องจาก "คาแฟอีน" ที่มีอยู่ในกาแฟตามธรรมชาติมีคุณประโยชน์มากพอสมควรแล้ว เราได้นำข้าวกล้องงอกฯ
มาผสมรวมกัน เพื่อให้ผู้ดื่มได้รับคุณค่าทางอาหารมากยิ่งขึ้น โดยดื่มก่อนอาหาร 15 นาที
จะทำให้ท่านรับประทานอาหารได้น้อยลง จึงทำให้มีรูปร่างที่สมส่วนตามที่ต้องการ
โดยไม่ขาดสารอาหาร สดชื่น และกระปรี้กระเปร่าตลอดเวลาการทำงาน
 
กาแฟ กับ คาเฟอีน
กาแฟ ...เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมจากทั่วทุกมุมโลกมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ที่กระตุ้นให้ผู้ดื่มเกิดความสดชื่น ตื่นตัว และกระปรี้กระเปร่า ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นได้
เพราะ ... คาเฟอีน ที่มีอยู่ในกาแฟนั่นเอง
 
แล้ว คาเฟอีน ... คืออะไร มีผลอย่างไรต่อร่างกาย !?!
ก่อนจะตอบคำถามนี้เราคงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า การสกัดสารคาเฟอีน
คงไม่ยากสำหรับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน แต่สำหรับคนยุคก่อน
โดยเฉพาะยุคที่มีการค้นพบกาแฟแรก ๆ นั้น มนุษย์เราตื่นเต้นกับปฏิกิริยาที่กาแฟส่งผลต่อร่างกาย
เพราะในสมัยนั้นมนุษย์ยังไม่มีผู้ใดรู้จักสารเคมีที่ออกฤทธิ์ ในทางกระตุ้นประสาท
รู้กันแต่เพียงว่าการดื่มกาแฟทำให้ร่างกายสดชื่น นี่กระมังที่ทำให้ผู้คนติดอกติดใจ "กาแฟ"
ส่วนสารคาเฟอีน ออกฤทธิ์กระตุ้นร่างกายในทางใดบ้าง คงไม่ต้องสาธยายกันให้ยืดยาว
เพราะคงไม่มีใครในยุคนี้จะไม่รู้คำตอบ
 
ว่ากันว่าคาเฟอีนเป็นสารที่พบได้ตามธรรมชาติ เพราะจากการวิจัยแล้วพบว่า มีพืชกว่า 60 สายพันธุ์
ทั่วโลกมีคาเฟอีนอยู่ ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ตามส่วนของใบ เมล็ด ราก สำหรับพืชที่มีคาเฟอีนที่เรารู้จักกันดี
ได้แก่ เมล็ดโกโก้ ชา กาแฟ และกัวราน่า ด้วยคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ ในทางกระตุ้นประสาทนี้เอง
ที่ทำให้คาเฟอีนถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดื่มประเภทคาร์บอเนต
และยังนำไปเป็นส่วนประกอบของยาหลายชนิด เช่น ยาลดความอ้วน บางประเภท ยาแก้ไข้
แก้หวัดบางชนิด และยาที่ใช้แก้อาการหายใจ ผิดปกติในเด็กอ่อน
เป็นต้น
 

 
เห็ดหลินจือ (Lingzhi) เป็นยาจีน (Chinese traditional medicine ) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี
นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน
และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่สุดของจีนมีคนนับถือมากที่สุด
ได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือเป็น “เทพเจ้าแห่งชีวิต” ( Spiritual essence ) มีพลังมหัศจรรย์
บำรุงร่างกายใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุออกไปให้ยืนยาว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
และยังสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ชาวจีนโบราณต่างยกย่องเห็ดหลินจือ
อย่างเหนือชั้น ว่าดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน นอกจากจะมีสรรพคุณเหนือชั้นกว่า
แล้วยังปลอดภัยไม่มีพิษใด ๆ ต่อร่างกาย
 
ในสมัยโบราณ กล่าวกันว่า เห็ดหลินจือทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น
ใช้บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีกำลัง ทำให้ความจำดีขึ้น ทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ชัดเจนดีขึ้น
ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสีหน้าแจ่มใส ชะลอความแก่
ส่วนสรรพคุณอื่นๆที่ได้รวบรวมไว้ได้แก่ รักษาและต้านมะเร็ง รักษาโรคตับ ความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ
ปรับความดันโลหิตทั้งสูง และต่ำ ภาวะมีบุตรยาก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคภูมิแพ้ โรคประสาท
ลมบ้าหมู เส้นเลือดอุดตันในสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปวดเมื่อย ปวดข้อ โรคเกาต์ โรคเอสแอลอี
เส้นเลือดหัวใจตีบ ตับแข็ง ตับอักเสบ ปวดประจำเดือน ริดสีดวงทวาร อาหารเป็นพิษ
แผลในกระเพาะอาหารและลำใส้ บำรุงสายตา และความเชื่อดังกล่าว ยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
 
ที่มาของข้อมูล : http://th.wikipedia.org ค้นหา “เห็ดหลืนจือ”
 

 
โรคเกาต์แพ้กาแฟ ผู้ที่เป็นคอดื่มจัดเลยพลอยได้บุญกุศลไปด้วย
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยบอสตันและโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดของสหรัฐฯศึกษาพบว่า
สตรีที่ดื่มกาแฟวันละ 4 ถ้วย จะสามารถหนีห่างโรคเกาต์ปวดบวมตามข้อลงได้เกินครึ่ง
 
คอกาแฟหญิงที่ดื่มขนาดนั้นหรือมากกว่า จะหนีห่างโรคพ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 57 มากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มเลย
แม้แต่เพียงดื่มน้อยระหว่าง 2-4 ถ้วย ก็จะหนีโรคได้ร้อยละ 22 หรือวันละถ้วยเดียว
ก็ยังหันหลังให้ได้ร้อยละ 3
 
นักวิจัยได้ศึกษากับกลุ่มพยาบาลหญิงอเมริกันเกือบ 90,000 คน ในการศึกษาติดตามนาน
ไม่ต่ำกว่า 26 ปี และวิเคราะห์ได้ว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟจัดเป็นเวลานานจะเป็นโรคน้อยที่สุด
โดยไม่อาจทราบสาเหตุได้ ได้แต่คาดว่าอาจเป็นเพราะมันไปช่วยลดปริมาณอินซูลินในเลือด
ก่อนหน้านี้เมื่อ พ.ศ. 2510 ก็เคยมีการศึกษาแบบเดียวกัน พบว่า
กาแฟดูเหมือนจะช่วยป้องกันทั้งหญิงชาย
 
จากโรคเกาต์ และก็มีการศึกษาพบด้วยว่า โรคเกาต์อาจจะเป็นอาการเตือนของโรคหัวใจด้วยก็ได้
 
คัดลอกจาก : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับที่ 19233
                    วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553 หัวข้อ "โลกโศภิน"
 
>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
 

ปวดท้องแบบนี้ คุณอาจเป็น “แผลในกระเพาะอาหาร”
โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือพียูดี (PUD: Peptic Ulcer Disease) คือ
โรคที่มีแผลเกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น โดยโรคนี้พบได้บ่อยในทุกช่วงวัย
 
สาเหตุโรคแผลในกระเพาะอาหาร
แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร?
สาเหตุที่พบได้บ่อย เกิดจากการติดเชื้อเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori)
ซึ่งเชื่อว่า อาจติดต่อมาจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ สาเหตุอื่นๆ
เช่น กรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร เป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร
การรับประทานยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัด ความเครียด เป็นต้น
 
อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
สังเกตอาการเหล่านี้ หากคุณกำลังปวดท้องแบบนี้ คุณอาจเสี่ยงโรคแผลในกระเพาะอาหาร
- ปวดแสบ ปวดร้อนในกระเพาะอาหาร ตำแหน่งระหว่างหน้าอกและสะดือ
   โดยอาจปวดเมื่อท้องว่างระหว่างมื้ออาหาร ปวดกลางดึก หรือเวลาใดก็ได้
- ปวดท้องมาก โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด
- อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ
- รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
- แสบร้อนกลางอก
- ท้องอืด มีลมในท้อง
- อุจจาระมีเลือดปน
- เบื่ออาหาร
- อาหารไม่ย่อย
- น้ำหนักลดลง
 
การป้องกันโรคแผลในกระเพาะอาหาร
- ล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และดื่มน้ำสะอาด
  เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไพโลไร
- งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS)
- ไม่เครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ
- งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีผลให้เยื่อบุกระเพาะอ่อนแอ
- หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองแผล
   และมีอาการปวดมากขึ้น
- ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ปริมาณน้อยๆ ไม่ควรรับประทานให้จนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
 
การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารทำได้หลายวิธี โดยวิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ
โรคแผลในกระเพาะอาหารสามารถมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีก ดังนั้น การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย
เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้โรคแผลในกระเพาะอาหารกลับมาเป็นซ้ำ
 
หากมีอาการเสี่ยงหรือสงสัยว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ควรมาปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
และรักษาอย่างถูกวิธี เพราะโรคนี้ อาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ หากปล่อยไว้เรื้อรัง
และไม่รักษาอย่างถูกต้อง
 
คัดลอกข้อมูลและรูปภาพจาก : https://www.sikarin.com/health/แผลในกระเพาะอาหาร
โดย : โรงพยาบาลศิครินทร์
 

โรคหัวใจ
 
หัวใจ อวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและภายในแบ่งออกเป็น 4 ห้อง มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง
อยู่บริเวณส่วนกลางใต้กระดูกหน้าอกค่อนข้างไปทางซ้ายเล็กน้อย หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิต
นำพาออกซิเจนและสารอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย
แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน โลหิตที่มีออกซิเจนสูงก็จะไหลกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย
และก็จะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกาย
 
หัวใจเริ่มเต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะพิเศษกว่ากล้ามเนื้ออื่น ๆ คือ
สามารถปล่อยสัญญาณไฟฟ้าได้เอง ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นจากหัวใจห้องขวาบน (Sinus Node)
กระจายออกไปตามเซลล์นำไฟฟ้าในหัวใจ เริ่มจากห้องบนขวาไปห้องบนซ้ายและลงหัวใจห้องล่าง
เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้านี้ก็จะเกิดการหดสั้นลง ทำให้เกิดการบีบตัวของห้องหัวใจ
 
สภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อหัวใจ
-โรคหลอดเลือดหัวใจ
-โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
-โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
-โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
-โรคลิ้นหัวใจ
-โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ
 
หากท่านมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยภาวะหัวใจโต
และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
 
สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ
สาเหตุของโรคหัวใจขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจนั้น ๆ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจจากภาวะการเสื่อมของหลอดเลือด
มีสาเหตุไม่ชัดเจนแต่พบว่าสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยปัจจัยเสี่ยงแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
 
-ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้และสามารถปรับเปลี่ยนได้
-ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้และไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เช่น อายุ เพศ
  หรือประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว
  แต่สามารถชะลอโรคด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่บริหารเองได้เพื่อป้องกันโรคหัวใจ
  ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
 
การป้องกันโรคหัวใจ
ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจแม้ไม่มีสาเหตุเฉพาะเจาะจงชัดเจน
แต่ก็มีปัจจัยสิ่งหลายอย่างที่หากเราควบคุมได้ดีจะช่วยลดโอกาสโรคหลอดเลือดหัวใจลงได้มาก เช่น
 
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินมาตรฐาน ควบคุมคอเลสเตอรอล และเบาหวาน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
- รับประทานอาหารที่มีเกลือและไขมันอิ่มตัวต่ำ
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน
- ลดความเครียด
- ฝึกสุขอนามัยที่ดี
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและรูปภาพจาก :
https://www.medparkhospital.com/content/heart-disease
บทความโดย :
นพ.ไพศาล บุญศิริคำชัย
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
เฉพาะทางด้านการตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
 
ภาพประกอบ : https://www.sikarin.com/health/โรคหัวใจมีกี่ชนิด-อากา
โดย : โรงพยาบาลศิครินทร์
 

 
CALL CENTER : 084-467-7810
E-mail : ceo424d@hotmail.com
 
 
 
 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa