aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
กำลังช้างสาร
ชื่ออื่น : ฮ่อสะพายควาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pithecellobium tenue Craib
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE–MIMOSOIDEAE(FABACEAE)
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
กำลังช้างสาร เป็นไม้ต้นขนาดเล็กกึ่งไม้พุ่ม สูง 3-5 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามทั่วไป
ใบกำลังช้างสาร ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียนกลับ หูใบเป็นหนามแหลม ก้านและแกนช่อใบมีครีบแคบๆ มีต่อมระหว่างรอยต่อของแขนงช่อใบ ใบย่อย 1-3 คู่ ออกตรงกันข้าม รูปไข่กลับแกมรูปรี ปลายใบแหลมยาว โคนใบเบี้ยว
ไม่มีก้านใบย่อย ดอกกำลังช้างสาร ดอกสีขาว ออกเป็นช่อโปร่งแตกแขนง ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว
เกสรตัวผู้สีขาว มีจำนวนมาก ผลกำลังช้างสาร ผลเป็นฝักแห้ง สีน้ำตาล ยาวถึง 20 เซนติเมตร คอดเข้าระหว่างรอยต่อของเมล็ดที่นูนออกเป็นเปลาะๆ
 
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อไม้
 
สรรพคุณกำลังช้างสาร :
เนื้อไม้ รสสุขุม แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็น ยาพื้นบ้านใช้ ต้น ต้มกับน้ำซาวข้าว ดื่มแก้ไข้ แก้ร้อนใน
หรือผสมกับแก่นฝาง ต้นพญาท้าวเอว โด่ไม่รู้ล้มทั้งต้น ต้นเครืองูเห่า ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเส้น ปวดเอว
 
คัดลอกข้อมูลจาก : https://www.samunpri.com/กำลังช้างสาร
 

 
เอ็นอักเสบ
 
เอ็นอักเสบ (Tendinitis) คือ การบวมเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นแถบเนื้อเยื่อพังผืดที่ยืดหยุ่นได้ตามแนวกระดูก
คอยเชื่อมต่อระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูกไว้ด้วยกัน ช่วยในการเคลื่อนไหวของกระดูกและข้อต่อ
สาเหตุที่เอ็นอักเสบมักเกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งซ้ำ ๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า เข่า หัวไหล่ ข้อศอก สะโพก
จนทำให้มีอาการปวดหรือเจ็บรอบ ๆ ข้อต่อ
 
อาการของเอ็นอักเสบ
- รู้สึกปวดตื้อ ๆ บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวที่ใช้แขนขาหรือข้อต่อนั้น ๆ
- ใช้การเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อได้ลำบาก
- มีอาการฟกช้ำ
- มีอาการบวม บางครั้งอาจรู้สึกอุ่น ๆ หรือมีอาการแดงร่วมด้วย
- มีก้อนบวมนูนตามเอ็นกล้ามเนื้อนั้น ๆ
 
สาเหตุของเอ็นอักเสบ
- ผู้ที่มีอายุมากจะยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะเอ็นอักเสบมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเอ็นกล้ามเริ่มมีความยืดหยุ่นน้อยลง
- ผู้ประกอบอาชีพที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวบางส่วนของร่างกายบ่อยครั้ง มีการเคลื่อนไหวผิดท่า เอื้อมยกของ
  ต้องออกแรงแกว่งหรือแรงเหวี่ยง หรืองานที่ต้องลงแรงมาก
- การเล่นกีฬาบางชนิดที่เอ็นกล้ามเนื้อต้องทำงานซ้ำ ๆ เช่น บาสเก็ตบอล กอล์ฟ โบว์ลิ่ง ว่ายน้ำ เทนนิส และวิ่ง
 
การรักษาเอ็นอักเสบ
- ประคบเย็นด้วยผ้าห่อน้ำแข็งบริเวณที่อักเสบนาน 20 นาที ทำซ้ำทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
- ใช้ผ้าพันแผลพันรอบ ๆ เพื่อรองรับข้อต่อและเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ
- พยายามยกส่วนของร่างกายที่มีอาการให้อยู่ในระดับสูง โดยใช้หมอนหนุนไว้เมื่อนั่งหรือนอนลง
- ป้องกันการบวมของบริเวณที่อักเสบในช่วง 2-3 วันแรกด้วยการหลีกเลี่ยงความร้อน
  เช่น น้ำอุ่น หรือถุงน้ำร้อน รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์และการนวดบริเวณดังกล่าว
- เมื่อเริ่มเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ ให้พยายามออกการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ
  ป้องกันการฝืดติดของเอ็นที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้เคลื่อนไหว
- อาจรับประทานยาหรือทาเจลบรรเทาการอักเสบที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
 
ภาวะแทรกซ้อนของเอ็นอักเสบ
ภาวะเอ็นอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงกว่า
และอาจถึงขั้นต้องได้รับการผ่าตัด หรือหากอาการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อคงอยู่เป็นเวลาหลายอาทิตย์หรือหลายเดือน
ก็อาจนำไปสู่ภาวะเอ็นอักเสบเรื้อรัง โดยจะส่งผลให้เกิดความเสื่อมสภาพภายในเอ็นกล้ามเนื้อดังกล่าว เกิดข้อติด
และเกิดการเติบโตของหลอดเลือดที่ผิดปกติขึ้น
 
การป้องกันภาวะเอ็นอักเสบ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะส่งผลให้เกิดแรงตึงต่อเอ็นกล้ามเนื้อมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อทำซ้ำเป็นเวลานาน
   และหากรู้สึกถึงอาการเจ็บที่เกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกายชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วก็ควรหยุดพักการทำกิจกรรมนั้นสักพัก
- ทำกิจกรรมออกกำลังกายให้หลากหลาย หากว่าการออกกำลังกายที่ทำอยู่มักทำให้รู้สึกปวดบริเวณเอ็นกล้ามเนื้ออยู่บ่อยครั้ง
  ควรสับเปลี่ยนด้วยการออกกำลังกายชนิดอื่น เช่น การผสมผสานทั้งการออกกำลังกายที่ลงน้ำหนักอย่างการวิ่ง
  ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนัก เช่น การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น
- ปรับเทคนิคการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายให้ถูกต้อง นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับเอ็นกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้น
  จากการเคลื่อนไหวผิดท่า ควรศึกษาหรือขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญสำหรับการออกกำลังกายในระยะเริ่มต้น
  หรือเมื่อต้องการลองใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายชนิดใหม่ ๆ
- หากเพิ่งเริ่มออกกำลังกาย ควรทำอย่างค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป ไม่ควรหักโหมตั้งแต่คราวแรก
- อบอุ่นร่างกายให้พร้อมก่อนการทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ   
   ให้ทนต่อความตึงและการลงน้ำหนักได้ดี
- หมั่นยืดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวของเอ็นกล้ามเนื้อ
  ช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บจากการตึงของเนื้อเยื่อ ทั้งนี้การยืดกล้ามเนื้อที่ให้ผลดีที่สุดก็คือหลังจากออกกำลังกายเสร็จแล้ว
  เพราะเป็นเวลาที่กล้ามเนื้อได้รับการอุ่นเครื่องแล้ว
- จัดรูปแบบอุปกรณ์การทำงานให้เหมาะสม ผู้ที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ควรปรับเก้าอี้ คีย์บอร์ด
  และหน้าจอให้เหมาะสมกับส่วนสูง ความยาวของแขน และลักษณะงานที่ทำ เพื่อป้องกันอาการตึงที่ข้อต่อและกล้ามเนื้อเอ็นต่าง ๆ
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/เอ็นอักเสบ
 

 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa