aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
 
สรรพคุณดอกคำฝอย
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carthamus tinctorius L.
ชื่อสามัญ : Safflower, False Saffron, Saffron Thistle
วงศ์ : Compositae
ชื่อท้องถิ่น : คำ คำฝอย ดอกคำ (เหนือ) คำยอง (ลำปาง) ดอกคำฝอย คำ คำยอง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Carthamus tinctorius Linn.
 
คำฝอย เป็นไม้ล้มลุก ในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae) มีความสูง 40-130 เซนติเมตร
ลำต้นเป็นสันแตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปวงรี ใบหอก หรือขอบขนาน ขอบใบหยักฟันเลื่อย
ปลายเป็นหนามแหลม ใบประดับแข็งเป็นหนาม รองรับช่อดอก ดอกเป็นดอกช่อ
มีดอกย่อยขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก ออกที่ปลายยอด ดอกอ่อนเป็นสีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงภายหลัง
ผลแห้งไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก
 
สารสีเหลืองส้มในกลีบดอกคือ Carthamin และ Sufflower yellow ใช้แต่งสีอาหาร
โดยนำดอกมาแช่น้ำร้อน และใช้ทำสีย้อมผ้ามาแต่โบราณ
 
นอกจากนี้แล้ว ดอกของคำฝอยยังทำมาชงน้ำร้อนดื่มเพื่อสุขภาพได้แบบเก็กฮวยหรือน้ำชาได้อีกด้วย
 
>> สรรพคุณของดอกคำฝอย <<
ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
- รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
- บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ
- โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต
- ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน
เกสร
- บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี
เมล็ด
- เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม
- ขับโลหิตประจำเดือน
- ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร
น้ำมันจากเมล็ด
- ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ
ดอกแก่
- ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง
คุณค่าด้านอาหาร
- ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก สารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้
- ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรับยาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ
   หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า
   หรือใช้วิธีตำพอก แต่มีข้อควรระวังคือ หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
- ใช้ดอกคำฝอยแก่ มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร safflower yellow)
   ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก :
- จากคอลัมน์ “พืชใกล้ตัว” โดย ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว
   ของวารสาร “อภัยภูเบศรสาร” ปีที่ 4 ฉบับที่ 42 ประจำเดือน ธันวาคม 2549
- http://th.wikipedia.org โดยค้นหาคำว่า “ ดอกคำฝอย ”
 

 
ที่มาของโรคน้ำเหลืองเสีย
 
น้ำเหลือง (อังกฤษ: Lymph) คือของเหลวที่หมุนเวียนอยู่ในระบบน้ำเหลือง น้ำเหลืองเกิดขึ้นเมื่อสารน้ำแทรก
(ของเหลวซึ่งมีอยู่ตามร่องของเนื้อเยื่อ)
มารวมกันผ่านหลอดน้ำเหลืองฝอย แล้วถูกส่งต่อผ่านท่อน้ำเหลือง
ไปยังต่อมน้ำเหลืองก่อนที่ในท้ายที่สุด จะถูกผสมรวมกับเลือดที่บริเวณหลอดเลือดดำ
ใต้กระดูกไหปลาร้าซ้ายหรือขวา องค์ประกอบของน้ำเหลืองจึงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ
ซึ่งทำให้เลือดและเซลล์ต่างๆสามารถแลกเปลี่ยนองค์ประกอบกับสารน้ำแทรก
(ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำเลือดเพียงแต่ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว)
ในกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ประกอบ
น้ำเหลืองจะคืนโปรตีนและสารน้ำแทรกส่วนเกินไปยังกระแสเลือด น้ำเหลืองอาจจับพาแบคทีเรียไปยังต่อมน้ำเหลือง
เพื่อกำจัด เซลล์มะเร็งเนื้อร้ายอาจถูกจับพาโดยน้ำเหลืองได้เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ น้ำเหลืองอาจจับพาไขมันจากทางเดินอาหารอีกด้วย
 
โรคน้ำเหลืองเสีย คืออะไร
ภาวะน้ำเหลืองไม่ดี Poor lymph disorder คือ ปรากฏการณ์ที่อวัยวะมีการอัดอั้น (congestion) ระบายน้ำเหลืองไม่ราบรื่น เมื่อเรื้อรังก็จะอุดอู้ ของเสียจะคั่งค้าง ไม่ถ่ายออกเทไป ทำให้ก่ออักเสบได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อเกิดมีการแสลงอาหาร
จากผลิตภัณฑ์สัตว์ (เนื้อไข่นม) ปนการแทรกซ้อนที่ติดเชื้อตามผิวหนัง กลายเป็นโรคน้ำเหลืองเสีย Bad lymph sickness
 
โรคน้ำเหลืองไม่ดี มีอาการและอาการแสดงที่หลากหลายกว่าที่เราเคยรู้จักกันมา อาจเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มโรค Superfamily ที่ครอบคลุมไปถึง เช่น โรคหลอดเลือดขอด โรคปวดเข่า(เสื่อม) โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังผื่นคัน โรคSLE โรครูมาตอยด์
โรคบวมไขมัน โรคอ้วน โรคภาวะที่ช่วงล่างใหญ่ผิดสัดส่วน ต้นขาโต น่องอวบ โรคภาวะบวมต่างๆที่พบได้ในโรคเก๊าต์ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งโรคมะเร็งและผลข้างเคียงจากมะเร็ง หรือจากการผ่าตัดรักษามะเร็ง เฉพาะกรณีหลังนี้ ประมาณว่า เรามีผู้ป่วยบวมไม่น้อยกว่า 300,000 คนทั่วประเทศไทย ที่เคยผ่านการผ่าตัดมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก
 
ความเรื้อรังแห่งโรคทั้งหลายที่เมื่อเป็นมานานถึงระยะหนึ่งก็จะก่อสภาวะน้ำเหลืองไม่ดี ซึ่งจะขยายความรุนแรงของอาการ
และเพิ่มการลุกลามของโรค อาการเมื่อยน่อง เจ็บขา ปวดเอวในคนวัยทำงาน (เบื่อขึ้นบันได เดินไม่ทน เหนื่อยไว)
อาการ ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัวเจ็บไปทั้งตัว อาการเลือดลมไม่เดิน อาการลุกก็โอยนั่งก็โอย
เดินเหินไม่คล่องทั้งในคนทั่วไปหรือ ในผู้สูงอายุ อาการปวดในผู้ป่วยมะเร็ง เหล่านี้
ล้วนมีพื้นฐานร่วมบนภาวะน้ำเหลืองไม่ดี เราเคยให้การบำบัดรักษาผู้ป่วย มะเร็งระยะสุดท้ายที
่ปวดทรมานต้องกินมอร์ฟีนวันละ 5-10 เม็ด เมื่อเริ่มบำบัดน้ำเหลือง สามารถทำให้มอร์ฟีนเป็น ศูนย์ เม็ดได้ตั้งแต่วันแรก เป็นต้น
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/น้ำเหลือง
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : http://womenways.club/โรคน้ำเหลืองเสีย-คืออะไ/
 

 
ภาวะไขมันในเลือดสูง
 
ในปัจจุบันสาเหตุของการตายที่พบบ่อย คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาจพบประมาณร้อยละ 50 ของประชากร
ภาวะระดับไขมันในเลือดสูง นับเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ซึ่งเป็นต้นเหตุความพิการของหลอดเลือด
อันเป็นผลจากการเพิ่มภาวะความไม่สมดุลของระดับไขมันทุกชนิดในกระแสเลือดของตนเอง
เป็นความผิดปกติที่อาจเกิดกับผู้ใดก็ได้ไม่จำกัด อายุ เพศ อ้วน หรือผอม
 
ไขมันในเลือดมี 2 ประเภท
1. โคเลสเตอรอลได้มาจากการสังเคราะห์ที่ตับ หรือจากอาหารที่บริโภค มี 2 ชนิด คือ
- แอล-ดี-แอล (LDL) คือ โคเลสเตอรอลอันตราย
- เอช-ดี-แอล (HDL) คือ โคเลสเตอรอลดี
 
2. ไตรกลีเซอไรด์ มี 2 ชนิด คือ
- ไคโลไมครอน ได้จากอาหารไขมันที่เราบริโภค
- วี แอล ดี แอล (VLDL) สังเคราะห์ที่ตับจากอาหาร แป้ง ของหวาน ผลไม้หวานที่เราบริโภค
 

สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1. เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้มีความบกพร่องในการเผาผลาญสารไขมัน ความผิดปกตินี้ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้
    ถ้าได้รับความผิดปกติถ่ายทอดมากจากทั้งบิดาและมารดาร่วมกัน ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงประมาณ 700-1,000 มก./ดล.
    ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจะเกิดตั้งแต่วัยเด็ก ถ้าไม่ได้รับการบำบัดจะเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี
    ถ้าได้รับการถ่ายทอดความผิดปกติจากบิดา หรือ มารดาฝ่ายหนึ่งฝ่ายเท่านั้น ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงประมาณ
    300-500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถ้าไม่ได้รับการบำบัด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะเกิดเมื่ออายุประมาณ 20-30 ปีไปแล้ว
2. เกิดเป็นผลจากโรคอื่นซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การเผาผลาญสารไขมันผิดปกติ เช่น โรคเบาหวาน โรคต่อมไธรอยด์ไม่ทำงาน
    โรคตับ โรคไต โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือเป็นจากการใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต    
     ยาคุมกำเนิดยากลุ่มสเตอรอยด์ และยาอื่นๆ อีกมาก ที่ผู้ป่วยบริโภคอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์

 
รายละเอียดที่ควรทราบก่อนไปตรวจระดับไขมันในเลือด
1. เมื่อใดควรไปตรวจ ถ้าอายุเลข 35 ปี ควรไปตรวจทันที ถ้าผลออกมาปกติ ควรไปตรวจซ้ำทุก 1-2 ปี
   แต่ถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นโรคอ้วน โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูงจากกรรมพันธุ์
   โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบให้ไปตรวจก่อนอายุ 35 ปี และควรไปตรวจซ้ำทุก 6 เดือนถึง 1 ปี
2. ถ้าไขมันในเลือดของท่านมีระดับสูงอยู่ในเกณฑ์ มีภาวะเสี่ยงสูง ต้องไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและต้องรับการรักษาทันที
    โดยการควบคุมอาหารร่วมกับยารักประทานและต้องไปรับการตรวจทุก 6-8 สัปดาห์
3. บุตรหลานควรได้รับการตรวจ ถ้ามีประวัติครอบครัวมีโรคไขมันสูงจากกรรมพันธุ์หรือโรคหัวใจ
    เพราะเด็กอาจมีภาวะหลอดเลือดโคโลนารีของหัวใจตีบตัน และเสียชีวิตโดยปัจจุบันได้
4. การเตรียมตัวไปตรวจ หลังอาหารเย็นแล้วงดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิด ยกเว้นน้ำเปล่า คือ ประมาณ 12-14 ชั่วโมง
    ตอนเช้างดอาหาร แล้วไปเจาะเลือดตอนราวๆ เวลา 07.30-08.00 น.
5. หนึ่งอาทิตย์ก่อนไปเจาะเลือด ควรรับประทานอาหารธรรมดา จึงจะได้ระดับไขมันถูกต้องตามความจริงเวลาไปเจาะเลือด
6. ควรไปตรวจที่ห้องทดลอง ซึ่งมีพยาธิแพทย์หรือพนักงานเทคนิคการแพทย์ที่เชื่อถือได้ ผลจากการทดลองจึงจะถูกต้อง
   และห้องทดลองนั้นต้องมีการควบคุมมาตรฐานของเครื่องอย่างสม่ำเสมอ
 
สรุปข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
1. ลดน้ำหนัก ลดอาหารแป้ง อาหารหวาน ผลไม้ เช่น น้ำส้มคั้น น้ำมะเขือเทศ ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง
2. งดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลด์ลดลง
3. ออกกำลังกายโดยการเดิน วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ หรือ เต้นแอโรบิค จะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลดีสูงขึ้น
   ซึ่งช่วยป้องกันให้ปลอดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
   ข้อควรระวัง: ควรไปรับการตรวจสอบสมรรถนะการทำงานของหัวใจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจก่อนออกกำลังกาย
   หมายเหตุ: ถ้าสภาพการทำงานของหัวใจดี ควรออกกำลังกายครั้งละ 20-30 นาที ประมาณอาทิตย์ละ 3 ครั้ง
4. บริโภคน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันถั่วลิสงและน้ำมันมะกอกแทนไขมันจากสัตว์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีโคเลสเตอรอลสูง
    เช่น หอยนางรม เครื่องในสัตว์ ไข่แดง (ควรบริโภคเฉพาะไข่ขาว เพราะไข่ขาวไม่มีโคเลสเตอรอลเลย) ถ้าต้องการบริโภคไข่แดง
   ควรบริโภคได้ไม่เกินอาทิตย์ละ 2 ฟอง การปรุงอาหารควรหลีกเลี่ยงการ ทอด ผัด ควรปิ้ง ย่าง หรือนึ่งแทน
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : http://www.saintlouis.or.th/article/show/_9-6-2019-12:40
ัคัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก :โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
 
 

 
 
aaa