aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
 
สรรพคุณใบบัวบก
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะแตกรากฝอยตามข้อไหลที่แผ่ไป
จะงอกใบจากข้อชูขึ้น 3-5 ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก
ก้านใบยาว ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้
 
สรรพคุณ :
ใบ : มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
ทั้งต้นสด : - เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
               - รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
               - ปวดศีรษะข้างเดียว
               - ขับปัสสาวะ
               - แก้เจ็บคอ
               - เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
               - ลดความดัน แก้ช้ำใน
เมล็ด : แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ
 
สารเคมี :
สารสกัดจากใบบัวบกประกอบด้วย madecassoside asiatic acid, asiaticoside, centelloside,
centellic acid brahminoside, brahmic acid.
 
ที่มาของข้อมูล : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_03_4.html
 

โรคเรื้อน เกิดจากอะไร
 
ความหมาย โรคเรื้อน
เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยจะมีอาการทางผิวหนัง กล้ามเนื้อ และตามปลายประสาทต่าง ๆ เช่น มีแผล ผื่นแดง
หรือผื่นสีจางตามผิวหนัง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความรู้สึกลดลง หรืออาจตาบอดและเป็นอัมพาตได้หากเชื้อมีการลุกลามรุนแรง
โดยโรคสามารถติดต่อสู่บุคคลอื่นจากเยื่อของเหลวที่ติดเชื้ออย่างน้ำมูกและน้ำลาย ผ่านการไอ จาม หรือการพูดคุยในระยะประชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ
 
สาเหตุของการเกิดโรค
เชื้อโรคเรื้อนเป็นมัยโคแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคเฉพาะในคนหรือสัตว์บางชนิด เช่น ตัวนิ่มเก้าลาย
และลิงบางชนิด เท่านั้น หากเชื้อโรคเรื้อนออกมานอกตัวคนและสัตว์มันจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในธรรมชาติ
ทางที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายคนยังไม่ทราบแน่นอน แต่เชื่อว่าอาจจะเกิดจากการหายใจและไอจามรดกันเช่นเดียว
กับวัณโรค เพราะผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีอาการมากจะมีเชื้อโรคอยู่ในจมูกได้
นอกจากนี้อาจเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ที่จริงแล้วเชื้อโรคเรื้อนไม่สามารถก่อให้เกิดโรคในคนได้ง่ายนัก เนื่องจากเชื้อมีความรุนแรงไม่มาก หากผู้ที่ได้รับเชื้อมีสุขภาพแข็งแรงจะมีภูมิคุ้มกันโรคดี และไม่เกิดอาการของโรค ผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อและเป็นโรคเรื้อนมักจะต้องอยู่คลุกคลีใกล้ชิด กับผู้ป่วยโรคเรื้อนเป็นระยะเวลานาน
 
อาการของโรคเรื้อน
- เกิดแผลนูนแดง หรือตุ่มแดง หรือเกิดเป็นด่าง เป็นผื่น ซึ่งมีสีจางกว่าสีของผิวหนัง
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง ฝ่อลีบ
- ประสาทสัมผัสที่ผิวหนังไม่รับรู้ หรือรับความรู้สึกได้ลดลง เช่น รู้สึกถึงอุณหภูมิ หรือรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด
   ที่ผิวหนังลดน้อยลง
- อวัยวะส่วนปลายประสาทชา หรือไม่มีความรู้สึก เช่น มือ เท้า แขน หรือขา
- ผมหรือขนหลุดร่วง เช่น ขนบริเวณคิ้ว
- ตาแห้ง กระพริบตาน้อยลง
- ระบบประสาทส่วนต่าง ๆ ถูกทำลาย
- รูปลักษณ์ภายนอกและใบหน้าเสียโฉม เช่น เนื้อจมูกถูกทำลายจนเสียรูปร่าง นิ้วมือนิ้วเท้างอ หรือกุดด้วน
- ประสาทตาถูกทำลาย จนอาจทำให้ตาบอด
 
การวินิจฉัยโรคเรื้อน
การวินิจฉัยโรคเรื้อนเบื้องต้นตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก เป็นการตรวจดูบริเวณผิวหนังของผู้ป่วย ดังนี้
1.ตรวจพบรอยโรคที่มีลักษณะเฉพาะของโรคเรื้อน
2.ตรวจพบอาการชาข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
- ชาที่รอยโรคผิวหนัง
- ชาที่ผิวหนังบริเวณที่รับความรู้สึกจากเส้นประสาทส่วนปลายที่ถูกทำลายโดยเชื้อโรคเรื้อน
3.ตรวจพบเส้นประสาทโต
4.ตรวจพบเชื้อรูปแท่งติดสีทนกรด (Acid Fast Bacilli) จากการกรีดผิวหนัง (Slit Skin Smear)
 
หากพบอาการแสดงอย่างน้อย 2 ข้อ จาก 3 ข้อแรก หรือพบข้อ 4 เพียงข้อเดียว ให้วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อน
 
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อน
หากผู้ป่วยรู้ตัวช้า หรือมีตรวจพบการป่วยโรคเรื้อนช้า โรคเรื้อนไม่ได้รับการรักษา
หรือเข้ารับการรักษาช้าเกินไป อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนซึ่งเป็นอาการที่รุนแรงและเป็นอันตรายมากขึ้นได้ เช่น
- เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง แผลติดเชื้ออักเสบรุนแรงหรือลุกลาม
- รูปร่างเสียโฉม เช่น ผมร่วง ขนตาหรือขนคิ้วร่วงหลุด เนื้อจมูกเสียหายผิดรูปร่าง
- อวัยวะเสียหาย เช่น นิ้วมือนิ้วเท้างอ หรือกุด
- ม่านตาอักเสบ ประสาทตาถูกทำลาย เป็นต้อหิน หรือตาบอด
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ประสบภาวะมีบุตรยาก
- ประสาทแขนขาถูกทำลาย หรือเป็นอัมพาต
- ไตวาย
 
การป้องกันโรคเรื้อน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสมูกของเหลว อย่างน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโรคเรื้อน และระมัดระวังในการพูดคุย
   กับผู้ป่วยโรคนี้ในระยะประชิด
- สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อน ควรป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นต่อไปได้ เช่น ปิดปากและจมูกในขณะไอ
   หรือจาม รับประทานยาและรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและเรียบเรียงจาก : https://www.pobpad.com/โรคเรื้อน
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและเรียบเรียงจาก : https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=36
 

 
อาการเจ็บคอ มาจากสาเหตุอะไร
 
ความหมาย เจ็บคอ (Sore throat) คือ อาการระคายเคืองบริเวณคอ เป็นหนึ่งในอาการที่สร้างความทรมานไม่น้อยไป
กว่าอาการเจ็บป่วยอื่นๆ เพราะทำให้กลืนน้ำลาย หรือกลืนอาหารลำบาก อีกทั้งทำให้รู้สึกไม่สบายตัวด้วย
 

สาเหตุหลักของอาการเจ็บคอแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เกิดจากการติดเชื้อต่างๆ
การติดเชื้อจะทำให้เกิดอาการอักเสบที่คอ หรือเกิดอาการเจ็บคอได้ ส่วนมากจะเป็นการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
สามารถแบ่งเชื้อได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.1 เชื้อรา สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้ แต่พบได้น้อย เพราะส่วนมากมักเกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
1.2 เชื้อไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้มากที่สุด โดยเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้ เช่น
- เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
- เชื้อไวรัสไข้หวัด (Common cold)
- เชื้อไวรัสหัด (Measles)
- เชื้อไวรัสอีสุกอีใส (Varicella)
- เชื้อไวรัสคางทูม (Mumps)
- เชื้อไวรัสคอตีบเทียม (Parainfluenza)
1.3 เชื้อแบคทีเรีย สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้เช่นกัน โดยเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้ เช่น
- เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีเนส (Streptococcus pyogenes) ที่ทำให้เกิดโรคคออักเสบ
- เชื้อแบคทีเรียโครีนแบคทีเรียม (Corynebacterium) ที่ทำให้เกิดโรคคอตีบ
- เชื้อแบคทีเรียบอร์ดีเทลลา เปอร์ตัสซิส (Bordetella Pertussis) ที่ทำให้เกิดโรคไอกรน

2. สาเหตุที่ไม่ใช่การติดเชื้อ
ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้ มีดังนี้
- การใช้เสียงมากเกินไป การตะโกน หรือใช้ระยะเวลาในการพูดคุยมากเกินไป
- การสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ทำให้เกิดการระคายเคืองที่คอได้
- กรดไหลย้อน เกิดจากกรดที่อยู่ในกระเพาะไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณลำคอ
- อากาศ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้ โดยเฉพาะอากาศแห้งที่ไม่มีความชื้น
  ซึ่งทำให้เกิดการเสียดสีในลำคอจนเกิดอาการระคายคอนั่นเอง
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด สามารถทำให้เกิดอาการระคายคอจนทำให้เจ็บคอได้ เช่น ยาลดความดันโลหิต
 
ภาวะแทรกซ้อนของอาการเจ็บคอ
อาการเจ็บคอที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียหรือคออักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาโดยยาปฏิชีวนะ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
เช่น การแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอย่างหูชั้นกลางหรือโพรงจมูกต่อไป
 
การป้องกันอาการเจ็บคอ
การป้องกันตนเองจากเชื้อโรคและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการเจ็บคอ ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสของที่ใช้ร่วมกันหลายคนหรือบ่อยครั้ง ควรล้างมือบ่อย ๆ เพื่อกำจัดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียสะสม
   ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อโรคหวัดหรือโรคอื่น ๆ ได้
- ไม่ใช้ช้อนรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นหรือดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน เพราะโรคบางโรคสามารถแพร่ผ่านน้ำลายได้
   เช่น โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส
- หลีกเลี่ยงสารที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น เกสรดอกไม้ เชื้อรา และฝุ่น
- เลี่ยงการรับควันบุหรี่ไม่ว่าจากการสูบเองหรือจากผู้อื่นที่อาจส่งผลระคายเคืองต่อคอจนมีอาการเจ็บ
   และยังเป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกบริเวณลำคอได้
- รักษาความชื้นในบ้านไม่ให้อากาศแห้ง และดื่มน้ำให้เพียงพอไม่ให้คอแห้ง
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและเรียบเรียงจาก : https://www.honestdocs.co/symptoms-and-care-for-sore-throat
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและเรียบเรียงจาก : https://www.pobpad.com/เจ็บคอ
 
 

 
 
aaa