aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
 
Dong Quai : ตังกุย
 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Angelica sinensis
ชื่อภาษาอังกฤษ : Dong Quai
ชื่อภาษาไทย : ตังกุย
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา : ราก
 
เมื่อเทียบการแพทย์แผนตะวันตกกับแผนตะวันออกแล้ว จะพบว่าทางตะวันออกเราจะนำหน้าตะวันตก
เขาในด้านของการนำเอาวัตถุจากธรรมชาติ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งเราเรียกกันว่า
ภูมิปัญญาตะวันออก "ตังกุย" ก็เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้กันจะว่าเป็นพันๆ ปีเลยก็ได้
ซึ่งมีจีนเป็นต้นตำรับ ด้วยสรรพคุณที่โดดเด่นในเรื่องของการบำรุงร่างกายของสตรีเพศ
จึงได้รับฉายาว่า "โสมผู้หญิง" (Female ginseng) และได้รับความสนใจ
เพื่อที่จะค้นค้าหาความลับที่มีอยู่ในพืชชนิดนี้ เพื่อพัฒนาไปเป็นยาที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
 
"ตังกุย" เป็นสมุนไพรจีนที่ใช้สำหรับสตรีวัยทอง ใช้กันมานานแล้วใน เอเชีย ให้สารหอมระเหย
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาคือ "ราก" ให้สารที่ออก ฤทธิ์ชื่อ คูมาริน (coumarins) มีหลายชื่อแล้วแต่จะเรียกกัน
ในแต่ละ ประเทศ ได้แก่ TANG QUAI, DONG QUAI, DANG QUAI CHINESE ANGELICA,
ANGELICA SINENSIS ในเอเชียส่วนใหญ่จะใช้ตังกุย เสริมสุขภาพให้สตรี

แต่สำหรับโสมแล้วใช้เสริมสุขภาพให้บุรุษ
 
"ตังกุย" ใช้รักษาอาการของสตรีดังต่อไปนี้ มีอาการร้อนวูบวาบ, เวลาประจำเดือนมาจะปวดท้องมาก
บำรุงครรภ์ให้สตรี และช่วยให้คลอดบุตรง่าย ดังนั้นฤทธิ์ของตังกุยจึงเป็นเหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน
(phytoestrogen) ของสตรี, ช่วยให้มดลูกบีบตัวอย่างธรรมชาติ และ คลายตัวตามปกติ,
เพิ่มเม็ดเลือดแดงสำหรับสตรีโลหิตจาง, ทำให ้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ และยังมีฤทธิ์
เพิ่มการทำงานของตับอีกด้วย
 
ประโยชน์ :
- ใช้รักษาสมดุลของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายรวมไปถึงฮอร์โมนเพศหญิง estrogen ด้วย
- บรรเทาอาการปวดเกร็ง หรือเลือดออกอย่างผิดปกติในสตรีระยะมีประจำเดือน
- ลดอัตราเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบหลอดเลือดและหัวใจ
  โดยรักษาสมดุลของการไหลเวียนโลหิตในผู้หญิง
- ทำให้เลือดไปเลี้ยงผิวพรรณมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการไหลเวียนที่ดีขึ้น
- ให้สารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน (estrogen like action) ช่วยบรรเทาอาการต่างๆ
  จากภาวะการหมดประจำเดือน (Menopause)
 
References :
1. Qi-bing M, Jing-yi T, Bo C. Advance in the pharmacological studies of radix
Angelica sinensis (Oliv) Diels (Chinese danggui). Chin Med J 1991;104:776-81.
2. Foster S, Yue CX. Herbal Emissaries. Rochester, VT: Healing Arts Press, 1992, 65-72.
3. Hirata JD, Swiersz LM, Zell B, et al. Does dong quai have estrogenic effects in
postmenopausal women? A double-blind, Placebo-controlled trial. Fertil Steril
1997;68:981-6.
 

 
วัยทอง หรือภาวะหมดประจำเดือน
 
ความหมาย วัยทอง
วัยทอง (Menopause) คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน รังไข่หยุดการผลิตไข่ ทำให้ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป
ผู้ที่เข้าสู่วัยทองจะมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 45-55 ปี ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ
โดยที่อาการอาจหายไปเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยชรา หรืออาจคงอยู่ไปตลอดจนสิ้นอายุขัย
 
อาการของวัยทอง
- ไม่มีประจำเดือน ช่องคลอดแห้ง
- ร้อนวูบวาบ ไม่สบายตัว มีเหงื่อออกในตอนกลางคืน
- มีปัญหาเรื่องการนอน นอนน้อย นอนไม่หลับ
- ผิวแห้ง หนังศีรษะบาง ผมร่วง
- อ้วนขึ้น ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้น้อยลง
- ไม่มีสมาธิ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
 
สาเหตุของวัยทอง
ภาวะวัยทองหรือภาวะหมดประจำเดือนเกิดจากร่างกายของผู้หญิงไม่มีการตกไข่ เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน
ไม่ผลิตฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนอีกต่อไป ซึ่งภาวะนี้เกิดจากหลายปัจจัย
โดยเฉพาะเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้นจนเข้าสู่วัยชรา สภาพร่างกายย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลง ระบบต่าง ๆ ภายในก็ทำงานเสื่อมประสิทธิภาพลง
 
นอกจากนี้ อาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติของรังไข่ก็อาจส่งผลต่อการขาดประจำเดือน การผ่าตัดเอารังไข่ทั้งสองข้างออกไปก็ทำให้เข้าสู่ภาวะวัยทองได้
รวมทั้งการทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) ที่ใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพราะนอกจากการรักษาจะส่งผลต่อเซลล์มะเร็งแล้ว ยังส่งผลต่อเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายที่มีการเจริญเติบโตด้วย ในบางครั้งภาวะวัยทองจึงเป็นผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด
 
ทั้งนี้ หากผู้ป่วยไม่ได้เข้าสู่วัยทองตามช่วงวัยที่ควรจะเป็น หรือเข้าสู่วัยทองก่อนอายุประมาณ 40 ปี
จะเรียกภาวะนี้ว่า วัยทองก่อนกำหนด หรือภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด
 
ภาวะแทรกซ้อนของวัยทอง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และภาวะอ้วน เนื่องจากระบบการเผาผลาญร่างกายที่เสื่อมถอย
   อาจทำให้มีไขมันอุดตันตามส่วนต่าง ๆ หรืออุดตันในเส้นเลือด
- โรคกระดูกพรุน ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อกระดูก ระดับฮอร์โมนที่ลดลงจึงมีผลต่อกระบวนการสร้างกระดูก
   ผู้ที่อยู่ในวัยทองจึงมีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน เพราะกระดูกจะเปราะและแตกหักได้ง่าย
- ปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศและท่อปัสสาวะเสียความยืดหยุ่นและเสื่อมสภาพ
  ทำให้มีอาการปัสสาวะเล็ดบ่อย ๆ หรือมีปัสสาวะพร้อมกับการไอหรือจาม เสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
- ปัญหาทางเพศ ช่องคลอดแห้ง ความยืดหยุ่นของช่องคลอดลดลง อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ ความเจ็บปวด   
   หรือมีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์
 
การป้องกันวัยทอง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมกับวิตามินดีสูง เพื่อบำรุงกระดูกและส่วนต่าง ๆ
  ของร่างกายที่สึกหรอ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลเป็นปริมาณมาก รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา และให้ผิวหนังได้สัมผัสแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้าเพื่อให้ร่างกายได้สังเคราะห์วิตามินดี
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ตามเกณฑ์   
   และเร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกาย ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบได้อีกด้วย
   การออกกำลังกายง่าย ๆ ที่แพทย์แนะนำในวัยนี้ คือ การเต้นแอโรบิก โยคะ ไทเก๊ก เป็นต้น
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจทำให้ร่างกายอ่อนล้าและต้องการการพักผ่อนมากกว่าปกติ
  แต่บางครั้งอาจมีอาการร้อนวูบวาบทำให้นอนหลับไม่สนิทหรือไม่สบายตัว ควรนอนหลับในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำ
  อากาศเย็นสบาย และเตรียมน้ำไว้ใกล้ตัวเพื่อดื่มเมื่อมีอาการร้อนวูบวาบกลางดึก ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงความเครียด
  และความวิตกกังวล อันจะส่งผลให้มีปัญหาการนอนและความแปรปรวนของอารมณ์ตามมาด้วย
- ควบคุมจัดการอาการที่เกิดขึ้น ทำความเข้าใจกับภาวะหมดประจำเดือน เตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยทอง
   ตรวจสุขภาพร่างกายอยู่เสมอ ตรวจวัดความดันโลหิต เพื่อวางแผนรับมือกับอาการที่จะเกิดขึ้น   
   หากอาการที่เกิดขึ้นเกินกว่าความสามารถในการจัดการ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/วัยทอง
 
 

 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa