aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
 
สรรพคุณของโกฐเขมา หรือแปะตุ๊ก
 
ชื่อสมุนไพร : โกฐเขมา
ชื่ออื่น : โกฐหอม, ซังตุ๊ก, ชางจู๋
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Atractylodes lancea (Thunb.) DC.
ชื่อพ้อง : Atractylis lancea DC., Atractylis ovate Thunberg, Atractylis chinensis (Bunge) DC, Acana chinensis Bunge
วงศ์ : Compositae
ส่วนที่ใช้ : เหง้าแห้ง
 
สรรพคุณสมุนไพรโกฐเขมา
เหง้า : - เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม เป็นยาบำรุง - แก้เสียดแทงสองราวข้าง แก้จุกแน่น
          - ใช้แก้โรคเข้าข้อ - แก้หอบหืด ระงับอาการหอบ
          - เป็นยาเจริญอาหาร - แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้
          - ยาขับปัสสาวะ - แก้ลมตะกัง แก้เหงื่อออกมาก
          - แก้โรคในปาก ในคอ เป็นแผลเน่าเปื่อย - แก้ไข้รากสาดเรื้อรัง
          - แก้ขาปวดบวม ขาไม่มีแรง ปวดข้อ - แก้ท้องเสีย
 
แพทย์แผนจีนนิยมใช้โกฐเขมามาก เข้าในยาจีนหลายขนาน ตำรายาจีนว่าใช้แก้อาการท้องร่วงท้องเสีย แก้อาการบวมโดยเฉพาะอาการบวมที่ขา แก้ปวดข้อ เนื่องจากโรคข้ออักเสบ แก้หวัด และแก้โรคตาบอดตอนกลางคืน
 
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร :
ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)
ปรากฏการใช้โกฐเขมาในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 2 ตำรับ คือ
1. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร”
และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐเขมาอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9
ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด
ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ”
มีส่วนประกอบของโกฐเขมาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ
อาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ
 
โกฐเขมา เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ พืชชนิดนี้มีเขตกระจายพันธุ์ในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และรัสเซีย และได้มีการนำ มาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โกฐเขมาจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า(เบญจโกฐ)
โกฐทั้งเจ็ด(สัตตโกฐ) และโกฐทั้งเก้า(เนาวโกฐ) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ
คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก
 
การศึกษาทางเภสัชวิทยา : มีฤทธิ์ต้านปวด ต้านการอักเสบ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดความดันโลหิต กดระบบประสาทส่วนกลาง ลดอุณหภูมิกาย
 
การศึกษาทางพิษวิทยา : การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเหง้าด้วยเอทานอล 50%
โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 1,786 เท่า เปรียบเทียบ กับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่ตรวจพบอาการเป็นพิษ
 
คัดลอกมาจาก : 1. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
                       2. โครงการวิจัยการผลิตวัตถุดิบและแปรรูปสมุนไพรจีน
                           เพื่อทดแทนการนำเข้า (ปี พ.ศ. 2548-2552)
 

ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย
 
ไข้ไทฟอยด์, ไทฟอยด์, หรือไข้รากสาดน้อย (ภาษาอังกฤษ : Typhoid fever)
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi ซึ่งในปัจจุบันยังคงเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพของคนทั่วโลก
โดยเฉพาะกับเด็ก เป็นโรคที่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้จากการปนเปื้อน
ของน้ำและอาหารหรือการสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อนี้ โดยมีอาการที่พบได้ทั่วไป เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องผูกและท้องเสีย
ผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์ส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นภายหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่ต้องเสียชีวิตด้วยภาวะแทรกซ้อน นอกจากนั้น ยังมีวัคซีนต้านไข้ไทฟอยด์
ซึ่งมักจะมีการให้วัคซีนกับผู้ที่มีโอกาสจะได้รับเชื้อสูงหรือผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้ไทฟอยด์
 
สาเหตุของไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา (Salmonella) กลุ่มไทฟอยด์ซัลโมเนลลา (Typhoidal Salmonella)
ได้แก่ ซัลโมเนลลาไทฟิ (Salmonella typhi) และซัลโมเนลลาพาราไทฟิ (Salmonella paratyphi)
ซึ่งเชื้อทั้งสองชนิดนี้สามารถก่อโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร
 
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย
- ทำงานหรือเดินทางไปยังประเทศที่มีไข้ไทฟอยด์เป็นโรคประจำถิ่น เช่น อินเดีย
- เป็นนักจุลชีววิทยาที่ต้องทำงานหรือดูแลเรื่องของแบคทีเรีย Salmonella Typhi
- ต้องสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ
- ดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนที่มีเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi
 
ภาวะแทรกซ้อนของไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย
ภาวะแทรกซ้อนของไข้ไทฟอยด์มักจะเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม
หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดย 1 ใน 10 ของผู้ที่เกิดภาวะแทรกซ้อนมักจะเกิดขึ้นในระหว่างสัปดาห์ที่ 3 ของการติดเชื้อ
 
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่
- มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
- ระบบย่อยอาหารหรือลำไส้เป็นรูทะลุ ซึ่งทำให้สามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียงได้
 
หากแพทย์สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว แพทย์จะส่งตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจ CT Scan
(Computerized Tomography) หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
 
ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้แก่
- ปอดบวม
- เยื่อบุหัวใจอักเสบ
- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- ตับอ่อนอักเสบ
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- เกิดการติดเชื้อในไตหรือกระเพาะปัสสาวะ
- เกิดปัญหาทางจิต เช่น อาการเพ้อคลั่ง อาการประสาทหลอน และโรคจิตหวาดระแวง
 
วิธีป้องกันการติดเชื้อไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย
- รักษาสุขอนามัยส่วนตัวให้สะอาด เช่น ล้างมือหลังจากการเข้าห้องน้ำ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ
  ดื่มน้ำที่สะอาด ควรล้างมือให้สะอาดก่อนการรับประทานอาหารทุกครั้ง ถ้าไม่สะดวกก็อาจพกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือก็ได้
- ล้างวัตถุดิบก่อนการปรุงอาหาร เช่น ผักสด เนื้อสัตว์ ให้สะอาด เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อที่อาจติดมากับวัตถุดิบ
- ช่วยกันรักษาความสะอาดของแหล่งน้ำ ไม่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงแม่น้ำ เพราะอาจจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อในวงกว้างได้
- ในกรณีที่มีผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์อาศัยอยู่ร่วมภายในบ้านเดียวกัน ควรระมัดระวังเรื่องสุขอนามัยส่วนตัวของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
   ควรซักเสื้อผ้าของผู้ป่วยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค จัดสถานที่ขับถ่ายของผู้ป่วยให้สะอาดถูกสุขลักษณะ
   และไม่ควรให้ผู้ป่วยเป็นคนทำอาหาร เพราะอาจนำเชื่อโรคปนเปื้อนไปที่อาหารได้
- การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไข้ไทฟอยด์ ซึ่งให้ผลในการป้องกันได้เพียงแค่ 2-5 ปี   
  ซึ่งระยะเวลาในการป้องกันโรคจะขึ้นกับชนิดของวัคซีนที่ได้รับโดยวัคซีนมีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน
  ซึ่งการใช้วัคซีนในประเทศไทยนั้นจะแนะนำให้กับเฉพาะผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด
  ทำงานกับเชื้อโรค หรือต้องอยู่อาศัยกับผู้ป่วยติดเชื้อ
- สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด มีคำแนะนำว่า ก่อนการเดินทาง ควรฉีดวัคซีนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์
   ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและเรียบเรียงจาก
https://www.honestdocs.co/typhoid-fever-causes-symptoms-and-treatments
https://medthai.com/ไข้ไทฟอยด์
https://www.pobpad.com/ไข้ไทฟอยด์
 

 
ลมตะกัง(ลมปะกัง) หรือโรคปวดหัวข้างเดียว
 
เป็นอาการปวดหัวชนิดหนึ่งที่ปวดเป็นพัก ๆ โดยมากมักจะปวดแบบซีกเดียวหรือปวดสลับข้าง อาจเป็นขมับหรือเบ้าตา อาจปวดตื้อๆ
หรือปวดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ บางคนแถมมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า ตาลาย เข้าอีกด้วย
ชาวบ้านเรามักเรียกกันว่า “ลมตะกัง” ส่วนต่างประเทศเรียกว่า ปวดหัว เนื่องจาก มิเกรน หรือไมเกรน
 
โรคลมตะกัง หรือไมเกรนนี้ มีความสำคัญอย่างไร
โรคชนิดนี้จัดว่า เป็นโรคติดอันดับพบมากในกลุ่มวัยทำงาน เพราะลมตะกังหรือไมเกรน เป็นโรคปวดหัว ที่พบได้บ่อยมาก
ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ต่างประเทศ เขาสำรวจกันพบว่า คนในโลกนี้ 100 คน จะมีคนเป็นโรคนี้ ถึง 5-10 คน
อันที่จริง มันเป็นโรคที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ว่ามันเป็นโรคที่ทำให้เกิดความรำคาญ บางครั้งก็น่าทรมาน
บางคนต้องขาดงาน เสียเงินหมอเป็นประจำ เสียทั้งเศรษฐกิจของตัวเองและเศรษฐกิจของประเทศ
แล้วยังเป็นกันในทุกคนทุกระดับชั้นด้วย
 
อาการของโรคนี้ เป็นอย่างไรบ้าง
อาการที่สำคัญที่สุดของโรคนี้ คือ ปวดหัวเฉพาะซีกหนึ่งซีกใดที่ขมับหรือที่เบ้าตา มักจะปวดแบบตุ๊บๆ
เข้ากับจังหวะการเต้นของหัวใจ แต่บางทีก็ปวดแบบตื้อๆ ก็ได้ อาจปวดสลับข้าง ในแต่ละครั้ง หรือบางครั้งอาจปวดทั้งสองข้าง
 
ครั้งหนึ่งมักปวด นานเป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวัน ถ้าปวดหัวรุนแรง ก็จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
ตาพร่าตาลายร่วมด้วยอาการจะเป็นๆ หายๆ อยู่เรื่อยๆ
มักเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อย่างเข้าวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาวเป็นมากในผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย
 
โรคปวดหัว เช่น ปวดหัวจากความดันเลือดสูง ปวดหัวเนื่องจากโพรงจมูกอักเสบ ปวดหัวเนื่องจากอารมณ์เครียด
ปวดหัวเนื่องจากเนื้องอกในสมอง ฯลฯ
 
เราทราบได้อย่างไรว่า ที่เรากำลังปวดอยู่นั้น เป็นเนื่องจากไมเกรน หรือปวดจากสาเหตุอื่น
เราสามารถรู้ และแยกสาเหตุของการปวดได้ แม้ว่าอาการปวดหัว บางอย่างจะคล้ายกับโรคลมตะกัง เช่น
 
- อาการปวดหัวที่เกิดจาก ความเครียดทางอารมณ์ เช่น คิดมาก กลุ้มใจ กังวลใจ ก็จะมีอาการปวดมึนไป ทั่วศีรษะหรือท้ายทอย
  แต่จะไม่มีอาการตาลายหรือคลื่นไส้ อย่างไรก็ตาม บางคนก็อาจมีอาการปวดจากไมเกรน ร่วมกับความเครียดทางอารมณ์
  ก็มีส่วนกระตุ้นทำให้เกิดอาการปวดหัวจากไมเกรนได้
- อาการปวดหัว ที่เกิดจากความดันเลือดสูง ส่วนใหญ่จะปวดมึนหรือปวดตื้อที่ท้ายทอยตอนตื่นนอน
  มักจะเป็นในคนสูงอายุ และบางรายมีโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน โรคไต ร่วมด้วย เมื่อตรวจวัดความดันเลือดดู
  ก็จะพบว่าสูงกว่าปกติ ดังนั้น...ควรจะต้องหมั่นให้หมอวัดความดันเลือดเป็นประจำ หรือตรวจวัด เมื่อมีอาการปวดหัวบ่อยๆ
- อาการปวดหัวที่เกิดจากโพรงจมูกอักเสบ หรือที่ชาวบ้านเราเรียกว่า “ไซนัสอักเสบ” นั้น จะปวดแบบตื้อๆ มึนๆ ตามหัวคิ้ว
   หรือโหนกแก้ม และใช้นิ้วกดแรงๆ ตามบริเวณที่ปวดจะรู้สึกเจ็บได้ นอกจากนี้ ก็จะพบว่า มีอาการ เป็นหวัดคัดจมูก อยู่เป็นประจำ
 
สาเหตุของโรค
อาการปวดไมเกรนหรือลมตะกัง เกิดขึ้นเพราะมีการหดตัว และขยายตัวผิดปกติของหลอดเลือดแดง ในบริเวณศีรษะทั้งนอก และในกะโหลกศีรษะ เป็นผลทำให้มีแรงดันในหลอดเลือดแดง ในบริเวณนี้เพิ่มขึ้น ทำให้ผนังของหลอดเลือดแดงโป่งผิดปกติ จึงเกิดอาการปวดหัวขึ้น โรคนี้มักเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ คือ ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย มีประวัติว่า พ่อแม่พี่น้องเคยเป็นโรคนี้มาก่อน มีหลักฐานยืนยันว่า ฮอร์โมนเพศบางอย่าง มีอิทธิพลต่อการ เกิดอาการปวดหัวในคนที่เป็นไมเกรน
โรคนี้มักจะเริ่มมีอาการในระยะหนุ่มสาว ผู้หญิงบางคนมีอาการปวดเฉพาะระยะใกล้ หรือมีประจำเดือน
และประมาณร้อยละ 80 ของผู้หญิงที่เป็นไมเกรน จะไม่มีอาการปวดหัวขณะตั้งท้อง
 
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสาเหตุกระตุ้นทำให้เกิดอาการปวดหัว ในคนที่เป็นไมเกรน ซึ่งได้แก่
- อยู่ในที่ร้อนหรือเย็นเกินไป
- มีแสงจ้าเข้าตา
- การใช้สายตาเพ่งอะไรมากๆ โดยเฉพาะเวลาดูหนังหรือกล้องจุลทรรศน์
- คนที่สายตาสั้น ไม่ได้ใส่แว่นหรือใช้แว่นไม่ถูกขนาด
- การสูดดมกลิ่นฉุนๆ ก็ทำให้ปวดหัวได้
- เหนื่อยเกินไป
- การนอนไม่พอ หรือนอนมากเกินไป เชื่อกันว่า อาจเป็นเพราะมีก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์คั่ง
   หรือมีการขาดก๊าซออกซิเจน ซึ่งไม่มีผลต่อหลอดเลือดในกะโหลกศีรษะ
 
วิธีการรักษาโรค
1. รีบกินยาบรรเทาปวด (เช่น พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด) ทันทีที่เริ่มมีอาการ อย่ารอให้ปวดนานเกิน 30 นาที
    จะได้ผลน้อย ผู้ป่วยจำเป็นต้องพกยาแก้ปวดติดตัว จะได้กินทันทีที่เริ่มมีอาการ
2. หาทางนอนพัก หรือนั่งพัก
3. หลีกเลี่ยงที่ที่อบอ้าว มีแสงจ้าหรือเสียงดัง หยุดการเคลื่อนไหวร่างกาย และการเดินขึ้นลงบันได
 
ถ้าคลื่นไส้มาก ให้กินยาแก้คลื่นไส้อาเจียน (ตามคำแนะนำของหมอ) ควบไปด้วย ในกรณีที่ใช้พาราเซตามอลไม่ได้ผล
(พบได้ประมาณร้อยละ 20-30) แพทย์อาจให้ยาบรรเทาชนิดอื่น เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ทามาดอล (tamadol)
เออร์โกทามีน (ergotamine) ชูมาทริปแทน (sumatriptan) เป็นต้น ซึ่งควรกินเป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาปวด
 
วิธีการป้องกันโรค
ควรสังเกตว่ามีอะไรเป็นเหตุกำเริบหรือสิ่งกระตุ้น (มักมีมากกว่า 1 อย่าง) แล้วหาทางหลีกเลี่ยงเสีย ถ้าเป็นบ่อยหรือรุนแรงจนเสียงาน
แพทย์จะให้ยากินป้องกันนาน ครั้งละ 3-6 เดือน ยาป้องกัน เช่น อะมิทริปไทลีน (amitriptyline) นอร์ทริปไทลีน (nortriptyline)
โพรพราโนลอล (propranolol) อะทิโนลอล (atenolol) โทพิราเมต (topiramate) ยาเหล่านี้อาจมีข้อระวังในการใช้
จึงต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งใช้ให้เหมาะกับผู้ป่วย แต่ละรายที่อาจมีภาวะสุขภาพหรือมีการใช้ยาอื่น ๆ อยู่ก่อน ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและเรียบเรียงจาก
https://www.doctor.or.th/article/detail/5227
http://siamguasa.com/เกี่ยวกับไมเกรน
 
 

 
 
aaa