aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 

 
ประวัติของโรคเบาหวาน
 
เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือร่างกายเกิดภาวะ
ดื้ออินซูลิน อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่อง
มาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกาย
เพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถ
ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมาก ในระยะยาวจะมีผลในการ
ทำลายหลอดเลือด ทำลายระบบประสาทส่วนปลาย ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ปี 2550 พบผู้ป่วยเบาหวานแล้วถึง 246 ล้านคน โดยผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย
ปี 2553 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด 6,855 คน หรือวันละ 19 คน
 
ประวัติของโรคเบาหวาน : ภาวะเบาหวานมีการค้นพบมานานแล้วในยุคโบราณของ อียิปต์ กรีซ โรม
และอินเดีย ในเบื้องต้นรายงานว่ามีอาการน้ำหนักลด ปัสสาวะบ่อยและปัสสาวะมีรสหวาน
จึงได้มีการแนะนำทางด้านอาหาร พ.ศ. 613 ชาวโรมันชื่อ Aretaeus ได้ทำการบันทึกอาการกระหายน้ำ
และปัสสาวะบ่อย โดยตั้งชื่ออาการว่า 'diabetes' ซึ่งมีความหมายใน ภาษาอังกฤษ: to flow through
ต่อมาในปี พ.ศ. 2218 Thomas Willis แพทย์ชาวอังกฤษได้กล่าวถึงรสหวานในปัสสาวะในชื่อของ
'mellitus' ซึ่งหมายถึง 'honeylike' ในที่สุดการแพทย์ในยุคนั้นได้เสนอแนะว่าสาเหตุของโรค
เบาหวานเกี่ยวข้องกับการแทนที่คาร์โบไฮเดรต
 
ชนิดและสาเหตุของโรคเบาหวาน : สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1 สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลาย
เซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้ร่างกายหยุดการสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว แม้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถ
อธิบายอย่างแน่ชัดว่า ทำไมภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงทำลายเซลล์ของตับอ่อน แต่เราก็ทราบว่าปัจจัย
ที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับโอกาสการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือ การได้รับสารพิษ,การติดเชื้อ,
การแพ้นมวัวโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก การขาดการออกกำลังกาย และวัยที่เพิ่มขึ้น
เซลล์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่ทำงานไม่เป็นปกติ
เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อน
โดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด
เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
 
อาการของโรคเบาหวาน : ถ้าหากพบอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์
- ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น
- ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น (ระหว่างช่วงเวลาที่เข้านอนแล้วจนถึงเวลาตื่นนอน)
- หิวน้ำบ่อยและดื่มน้ำในปริมาณที่มากๆ
- เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
- น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน
- ติดเชื้อบ่อยกว่าปกติ เช่น ติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร
- สายตาพร่ามองเห็นไม่ชัดเจน
- เป็นแผลหายช้า
โดย เบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีอาการเหล่านี้บางอย่าง หรืออาจไม่มีอาการเหล่านี้เลย
หมายเหตุ ผู้ป่วยเบาหวาน ในระยะแรก มักไม่พบอาการผิดปกติใดๆ
ยกเว้นจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนปกติเท่านั้น
 
การดูแลป้องกันโรคเบาหวาน : มีดังนี้
- ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ การรักษาจำเป็นจะต้อง
  ทำงานร่วมกันระหว่างผู้ป่วย แพทย์ ผู้ให้คำแนะนำเรื่องโรคเบาหวาน โภชนาการและยา
  การรักษานี้จะช่วยให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยารักษา
- ควรเจาะระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ ให้ปรึกษาแพทย์ว่าควรเจาะช่วงใด และบ่อยแค่ไหนถึงจะดีที่สุด
- ยาบางชนิดหรือยาสมุนไพรอาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องตรวจสอบกับแพทย์
  และเภสัชกรก่อนเลือกผลิตภัณฑ์ยาเหล่านี้
 
แหล่งอ้างอิง
- "IDF Chooses Blue Circle to Represent UN Resolution Campaign". Unite for Diabetes.
  17 March 2006.
- ภาวะฉุกเฉินในผู้ป่วยเบาหวาน
- http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news
  /Default.aspx?Newsid=145850&NewsType=1&Template=1
- http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/31593โรงพยาบาลละงู
- อาหารกับโรคเบาหวานhttp://www.sukapapdeedee.com/disease/diabetes
  /causes-of-diabetes.html
- http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/31593
- สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมป์
  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : http://th.wikipedia.org ค้นหาคำว่า " โรคเบาหวาน "
 

กินอย่างไรให้ห่างไกลเบาหวาน
 
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่พบได้บ่อยที่สุดและคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทย
มีผู้ป่วยเบาหวานไม่น้อยกว่า 4 ล้านคน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากการเป็นเบาหวานก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
ในหลายระบบของร่างกาย ได้แก่ จอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน
โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง และภาวะแทรกซ้อนที่เท้าและขา ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
 
ป้องกันเบาหวานด้วยการปรับเปลี่ยน
การป้องกันหรือชะลอการเป็นโรคเบาหวานจะมุ่งเน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต (Lifestyle Modification)
หมายถึง การปรับวิถีการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ประกอบด้วยการรับประทานอาหาร ตามหลักโภชนาการ การมีกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายที่เหมาะสม ร่วมกับการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
 
ซึ่งโภชนบำบัดทางการแพทย์จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน
ในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (Pre-diabetes) ภายใต้ข้อแนะนำคือ ควรมีน้ำหนักตัวและรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
 
ลดน้ำหนักป้องกันเบาหวาน
1. ลดปริมาณพลังงานที่รับประทานในแต่ละวัน โดยให้ลดไขมันที่รับประทาน แต่ยังต้องรับประทานอาหาร
    ให้ครบหมวดหมู่และสมดุล โดยให้ลดพลังงานลง 500 - 1,000 แคลอรี่ต่อวัน (ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวเริ่มต้น)
     เช่น เลี่ยงอาหารทอดเปลี่ยนเป็นอาหารนึ่ง และต้มแทนเพื่อลดการบริโภคน้ำมัน
2. เพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างน้อย 700 แคลอรี่ต่อสัปดาห์หรือเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างน้อย
    150 นาทีต่อสัปดาห์ จนสามารถลดน้ำหนักได้อย่างน้อยร้อยละ 7 ของน้ำหนักตั้งต้นและตั้งเป้าหมาย
    ลดลงต่อเนื่องร้อยละ 5 ของน้ำหนักใหม่ จนน้ำหนักใกล้เคียงหรืออยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. อาหารโปรตีนสูง (ร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งวัน) สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน
    ในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (Pre-diabetes) ได้ โดยเน้นเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ, โปรตีนจากพืช เช่น ปลา อกไก่ เต้าหู้ ฯลฯ
4. เน้นรับประทานคาร์โบไฮเดรตจากผัก ธัญพืช ถั่ว ผลไม้ และนมจืดไขมันต่ำเป็นประจำ
5. บริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูง เพิ่มการรับประทานผัก
6. หลีกเลี่ยงหรือจำกัดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบมาก เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ ฯลฯ
7. ลดหรือจำกัดการรับประทานอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน อาหารหมักดอง ฯลฯ
8. ควรหลีกเลี่ยงน้ำตาลเทียม เพราะแม้น้ำตาลเทียมจะสามารถคุมน้ำตาลได้จริง   
    แต่จะทำให้ติดหวานและอยากกินของหวานเท่าเดิมหรือมากขึ้น
 
คัดลอกข้อมูลจาก : https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/how-to-eat-far-away-from-diabetes
คัดลอกข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ 
 

 
 
 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa