aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
 
ผลหม่อน (mulberry) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus alba. เป็นพืชที่ปลูกมากทางภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รับประทานเป็นผลไม้ (fruit) มีลักษณะผลเป็นประเภท
ผลกลุ่ม ผลหม่อนสุกมีสีแดงเข้มจนถึงสีม่วงดำทั้งผล และใบใช้ทำชาใบหม่อนพันธุ์หม่อนผลสด
ที่นิยมปลูกในประเทศไทยคือผลหม่อนพันธุ์เชียงใหม่ ซึ่งให้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
ผลหม่อนพันธุ์เชียงใหม่ที่สุกเต็มที่สามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเพื่อบริโภคสดได้เพียง 1 ถึง 2 วัน เท่านั้น
เพราะลักษณะเนื้อผลไม้ที่อ่อนนุ่ม และบอบช้ำได้ง่าย
 
สารออกฤทธิ์ที่สำคัญใบหม่อน
ใบหม่อน ใบหม่อนนอกจากใช้เป็นอาหารของหนอนไหมแล้ว ใบหม่อนสามารถนำไปทำเป็นชา
สำหรับชงน้ำร้อนดื่มโดยจะทำในรูปชาเขียว ชาจีน และชาฝรั่ง หรือ รับประทานใบ
และยอดอ่อนโดยตรงโดยการใส่ในต้ม หรือแกงก็ได้ สารที่มีประสิทธิภาพสูงในใบหม่อน
ได้แก่ flavonoid ซึ่งเป็น phytoestrogen , triterpene ,ceramide , mulberroside
และ น้ำมันหอมระเหย
 
มีการศึกษาพบสาร flavonoid glycosides 3 ชนิด คือ quercetin 3-(6-malonyglucoside )
, rutin (quercetin 3- rutinoside ) และ isoquercetin ( quercetin 3- glucoside )
ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของสาร LDL antioxidant โดยพบ quertin 3-(6-malonyglucoside ) และ rutin
 
ผลหม่อน มีรงควัตถุ (pigment) หลักคือ แอนโทไซยานิน (anthocyanins) สารนี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
(antioxidant) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และโรคมะเร็ง
นอกจากนี้ยังมีสารประกอบฟีนอลซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน
สารประกอบฟีนอลนี้มีฤทธิ์ต่อต้านอาการอักเสบ และอาการเส้นเลือดโป่งพอง
ช่วยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพบว่าในผลหม่อนมีสารเคอร์ซีทิน
(quercetin) ซึ่งเป็นสารประกอบกลุ่มฟาโวนอยด์ (flavonoid) ที่มีคุณสมบัติลดความเสี่ยง
ในการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด จากการวิจัยยังพบอีกว่า
เมื่อผลหม่อนมีความสุกเพิ่มขึ้นปริมาณสารออกฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้นก็จะมีมากเพิ่มขึ้นเช่นกัน
 
Reference
- ธิติพันธ์ จันทพิมพ์. (2549). การเก็บรักษาหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่
  (Morus alba var.Chiangmai). การค้นคว้าแบบอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
  คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
- วสันต์ นุ้ยภิรมย์. (2546). หม่อนรับประทานผลและการแปรรูป.
  สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
- Duthie, G.G., Duthie, S.J., Kyle, J.A.M. (2000). Plant polyphenols in cancer
  and heart disease : implications as nutritional antioxidants. Nutrition Research
  Reviews, 13: 79 -106.
- Lazze, M.C., Savio, M., Pizzala, R., Cazzalini, O., Perucca, P., Scovassi, A.I., Stivala,
  L.A.,Bianchi,L. (2004). Anthocyanins induce cell cycle perturbations and apoptosis in
  different human celllines. Carcinogenesis, 25: 1427-1433.
- Manach, C., Mazur, A., & Scalbert, A. (2005). Polyphenols and prevention
  of cardiovascular diseases. Current Opinion in Lipidology, 16: 77- 84.
  http://www.rdi.ku.ac.th/kufair50/plant/67_plant/67_plant.html
- กระทรวงสาธารณสุข. (2540). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 179
  เรื่องเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท.
 

 
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ( Aortic Aneurysm )
 
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองเป็นโรคของหลอดเลือดแดงที่สามารถพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
โดยหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) เป็นเส้นเลือดหลักที่นำเลือดที่ออกจากขั้วหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
ให้แขนงไปเลี้ยงหัวใจ สมอง อวัยวะในช่องท้องทั้งตับ ไต ลำไส้ อวัยวะในอุ้งเชิงกรานและแขนขาเป็นต้น
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองเป็นภาวะความผิดปกติที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของหลอดเลือดแดงใหญ่มีขนาดโตขึ้น
ผนังของหลอดเลือดแดงจะบางลง โอกาสที่หลอดเลือดจะแตกนั้นก็มากขึ้นซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดที่โตขึ้น
หากทิ้งไว้ต่อไปเส้นเลือดส่วนที่บางนั้นก็อาจปริและรั่วซึมทำให้มีเลือดคั่งในช่องอกหรือช่องท้อง
จนในที่สุดก็แตกออกซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตแทบทุกรายหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
 
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรค
- อายุมาก
- ความดันโลหิตสูง
- ภาวะไขมันในเลือดสูง
- การสูบบุหรี่
- โรคถุงลมโป่งพอง
- มีความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น กลุ่มอาการ Marfan
 
อาการแสดงของโรค
ความสำคัญของโรคนี้อยู่ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดงใดๆนำมาก่อน อาจตรวจพบเจอโดยบังเอิญ
จากการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อตรวจหาโรคอื่น
หรืออาจคลำพบก้อนในช่องท้องที่เต้นได้ตามจังหวะหัวใจ อาการที่พบได้แต่ไม่บ่อยมักเกิดจากที่หลอดเลือดขนาดใหญ่
ไปกดเบียดอวัยวะข้างเคียงเช่น กดหลอดลมหรือปอดทำให้หายใจลำบาก,
กดเบียดหลอดอาหารทำให้กลืนลำบาก, กดเบียดเส้นประสาทที่เลี้ยงกล่องเสียงทำให้มีเสียงแหบเป็นต้น
 
อาการที่พบได้มากกว่าและมักเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าเส้นเลือดมีการปริแตกแล้วคืออาการแน่น
หรืออาการปวดแบบรุนแรงฉับพลัน ขึ้นกับตำแหน่งของเส้นเลือดที่มีการโป่งพอง
เช่น แน่นหน้าอก ปวดหลัง ปวดท้องแบบฉับพลัน เหงื่อออก ใจสั่น หน้ามืดหมดสติ
ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องการการตรวจรักษาอย่างทันที
 
การตรวจวินิจฉัยและการรักษา
เนื่องจากการรักษาในผู้ป่วยที่ยังไม่มีการปริแตกของหลอดเลือดจะมีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่ามาก
ดังนั้นจึงแนะนำให้เข้ารับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์จะวินิจฉัยจากการสอบถามประวัติอาการ
ตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจค้นเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก, การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์
และการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
 
แนวทางการรักษาเส้นเลือดโป่งพองเริ่มตั้งแต่การคุมความดันโลหิต, คุมระดับไขมันในเลือด, หยุดสูบบุหรี่ไปจนถึงการผ่าตัดรักษา
สำหรับหลอดเลือดโป่งพองที่ยังมีขนาดเล็กอาจยังไม่จำเป็นต้องผ่าตัดรักษา แต่ต้องมีการติดตามว่ามีขนาดโตขึ้นหรือไม่
ส่วนหลอดเลือดโป่งพองที่มีขนาดใหญ่หรือเริ่มมีการปริแตกจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษา
การผ่าตัดมีทั้งแบบเปิด (Open Surgery) ซึ่งถือเป็นการรักษาแบบมาตรฐานและการผ่าตัดโดยใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้ม
ด้วยขดลวด (Stent Graft) ซึ่งถือเป็นการรักษาแบบใหม่ มีบาดแผลเล็กกว่าและใช้เวลานอนพักฟื้นสั้นกว่า
การเลือกใช้วิธีการผ่าตัดใดนั้นขึ้นกับตำแหน่งพยาธิสภาพของโรค
สภาพความแข็งแรงของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะพิจารณาและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
 
คัดลอกบทความจาก : https://www.chularat3.com/knowledge_detail.php?lang=th&id=506
คัดลอกบทความจาก : โดย "นายแพทย์นรวัฒน์ ปัญญานุวัฒน์" สาขาศัลยศาสตร์โรคหัวใจและทรวงอก
คัดลอกบทความจาก : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
 
 

 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa