aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
เครื่องดื่มซุปไก่ดำสกัดเข้มข้น ตรา "BONBACK"
ปริมาตรสุทธิ : 270 มิลลิลิตร ( 45 C.C. x 6 ขวด )
เลข ทะเบียน อย.
 
เครื่องดื่มซุปไก่ดำสกัด ตรา "ฺBONBACK" บรรจุ 45 C.C / ขวด
 
 
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใส่ใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้นและมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มมากขึ้น
มีการโฆษณาถึงประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันไปต่างๆ เช่น ทำให้ร่างกายแข็งแรง
ช่วยให้ความจำดีขึ้น เป็นต้น ซุปไก่สกัดเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รู้จักกันมานานแล้ว
โดยเชื่อว่าจะช่วยบำรุงสุขภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
 
รศ.วรรณวิบูลย์ กาญจนกุญชร อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอาหารคณะอุตสาหกรรมเกษตร อธิบายว่าซุปไก่สกัดนั้นถ้าพิจารณาถึงเรื่องคุณค่าทางโภชนาการ แล้วมีการวิเคราะห์โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ
มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าซุปไก่สกัด 100 มิลลิลิตร จะประกอบด้วย น้ำ 93 กรัม โปรตีน 8 กรัม แคลเซียม เหล็ก
และวิตามินบี อีกเล็กน้อย เพราะฉะนั้นเมื่อดื่มซุปไก่สกัด 1 ขวด ในปริมาณ 80 มิลลิลิตร ก็จะได้โปรตีนประมาณ 8 กรัม
สำหรับคนทำงานทั้งหญิงและชาย ในขณะที่ร่างกายต้องการปริมาณโปรตีนประมาณ 44-55 กรัมต่อวัน
 
ซึ่งการบริโภคเนื้อสัตว์ในแต่ละวันก็จะได้รับโปรตีนในปริมาณตามที่ร่างกายต้องการ
ตัวอย่างเช่น ในเนื้อสัตว์ 100 กรัม จะมีโปรตีนอยู่ประมาณ 16-20 กรัม
เราควรบริโภคเนื้อสัตว์ประมาณ 300 กรัมจะทำให้ร่างกายได้รับโปรตีนเพียงพอกับความต้องการ
สำหรับคนที่มีร่างกายปกติและบริโภคอาหารได้เอง การบริโภค เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่จะได้สารอาหาร
ที่มีคุณค่าทางอาหารไม่แพ้ซุปไก่สกัด แต่สำหรับคนที่ร่างกาย มีความต้องการกรดอะมิโน
หรือต้องการโปรตีนอย่างรวดเร็ว การดื่มซุปไก่สกัดก็สามารถช่วยชดเชยสิ่งต่างๆได้
ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
 
ศ.นพ. Azhar แพทย์ชื่อดังของประเทศมาเลเซียและคณะ พบว่าหลังดื่มซุปไก่สกัดทุกวัน
สามารถช่วยลดความวิตกกังวลให้กับนักศึกษาแพทย์ที่กำลังเครียดจากการเตรียมสอบ
ทั้งนี้ผู้วิจัยคาดว่าอาจจะเป็นเพราะโปรตีนและกรดอะมิโนที่มีมากในซุปไก่สกัด
ที่มีส่วนช่วยลดความวิตกกังวลสามารถช่วยในเรื่องการเรียนรู้ทำให้มีสมาธิและเพิ่มความจำของคนเราได้
 
คัดลอกจาก : บทความเรื่อง ซุปไก่สกัด...มีคุณค่าโภชนาการสูง?
                    วิทยาศาสตร์รอบตัวจาก สสวท. ( คัดลอกจาก ศูนย์แบ่งปันความรู้ ม.น.ข )
 
>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
 

 
กรดอะมิโนจำเป็นคืออะไร สำคัญต่อร่างกายอย่างไร
กรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบของโปรตีนที่สำคัญต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
ซึ่งมีทั้งหมด 20 ชนิด โดยแบ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acids) 9 ชนิด
ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้และจะได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น
ส่วนกรดอะมิโนชนิดอื่นร่างกายสามารถสร้างได้ การได้รับกรดอะมิโนจำเป็นจากอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ
 
หลังจากรับประทานอาหารประเภทโปรตีน ร่างกายจะย่อยสลายให้กลายเป็นกรดอะมิโน
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยให้เซลล์เจริญเติบโต ช่วยในการย่อยอาหาร
และใช้เป็นพลังงานในร่างกาย กรดอะมิโนจำเป็นทั้ง 9 ชนิดสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย
และพบในอาหารชนิดใดบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
 
 
ประโยชน์ของกรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด
กรดอะมิโนจำเป็นทั้ง 9 ชนิดมีความสำคัญต่อร่างกายต่างกัน ดังนี้
 
- ฮิสตีดีน (Histidine) มีส่วนช่วยสร้างสารฮิสตามีน (Histamine) ที่เป็นสารสื่อประสาท
  ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ระบบย่อยอาหาร การนอนหลับ และพัฒนาการทางเพศ
  นอกจากนี้ ฮิสตีดีนยังช่วยป้องกันความเสียหายของปลอกหุ้มเส้นประสาทมัยอิลิน (Myelin Sheath) อีกด้วย
- ลิวซีน (Leucine) เป็นหนึ่งในกลุ่มกรดอะมิโนที่สำคัญต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
   (Branch Chain Amino Acids: BCAAs) มีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน
  และโกรทฮอร์โมน (Growth Hormones) ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่สึกหรอ
  ฟื้นฟูบาดแผล และรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
- ไอโซลิวซีน (Isoleucine) จัดอยู่ในกลุ่ม BCAAs เป็นส่วนประกอบสำคัญในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ
  ช่วยในกระบวนการเปลี่ยนแปลงพลังงานในกล้ามเนื้อ (Muscle Metabolism) และการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
- วาลีน (Valine) เป็นกรดอะมิโนอีกตัวในกลุ่ม BCAAs ที่ช่วยในการสร้างพลังงาน
  เสริมสร้างการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
- ทรีโอนีน (Threonine) ช่วยสร้างโปรตีนสำคัญอย่างคอลลาเจนและอีลาสติน
  ซึ่งเป็นองค์ประกอบในผิวหนังและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue) ช่วยในการเผาผลาญไขมัน
  การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยให้เลือดแข็งตัว ป้องกันเลือดออกผิดปกติ
- ไลซีน (Lysine) มีส่วนช่วยสร้างพลังงาน ฮอร์โมน คอลลาเจน และอีลาสติน รวมทั้งช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน
  การดูดซึมของแคลเซียม และเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
- เมไธโอนีน (Methionine) ช่วยในการทำงานของระบบเผาผลาญ การกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
   และการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ รวมทั้งช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุในร่างกาย เช่น ซีลีเนียมและสังกะสี (Zinc)
- ฟีนีลอะลานีน (Phenylalanine) จำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาทในสมองหลายชนิด
  เช่น โดพามีน (Dopamine) นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และอิพิเนฟริน (Epinephrine)
  รวมถึงมีส่วนสำคัญในโครงสร้างของโปรตีนและช่วยในการผลิตกรดอะมิโนชนิดอื่น ๆ
- ทริปโตเฟน (Tryptophan) เป็นสารตั้งต้นในการสร้างเซโรโทนิน (Serotonin)
  ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ควบคุมความอยากอาหาร การนอนหลับ และอารมณ์
   รวมทั้งช่วยรักษาสมดุลของไนโตรเจนในร่างกาย
 
การขาดกรดอะมิโนจำเป็น
การขาดโปรตีนอาจทำให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์
การทำงานของหัวใจ ภูมิคุ้มกัน และระบบทางเดินหายใจอ่อนแอ อย่างไรก็ตาม
คนทั่วไปที่รับประทานอาหารที่มีโปรตีนอย่างเพียงพอ
จะได้รับกรดอะมิโนจำเป็นมากพอและไม่มีภาวะขาดโปรตีน
 
สาเหตุสำคัญของการขาดโปรตีน คือ ได้รับอาหารที่มีปริมาณโปรตีนไม่เพียงพอจากความยากจน
ความผิดปกติในการดูดซึมสารอาหาร การผ่าตัด และการขาดความเข้าใจในการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง
ผู้ที่ลดน้ำหนักบางคนรับประทานอาหารน้อยลงเพื่อลดปริมาณพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน
จึงทำให้ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ
 
นอกจากนี้ กลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับกรดอะมิโนจำเป็นไม่เพียงพอคือหญิงตั้งครรภ์
เนื่องจากขณะที่ตั้งครรภ์ร่างกายจะต้องการกรดอะมิโนจำเป็นเพิ่มขึ้น
เช่น ทรีโอนีน ไลซีน ไอโซลิวซีน และทริปโตเฟน โดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกเติบโตเร็วที่สุด ร่างกายของคุณแม่จึงต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
เพื่อการเติบโตของทารกในครรภ์
 
โปรตีนช่วยเสริมสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ ผิวหนัง ผม และเล็บของทารก
และยังช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย ป้องกันอาการบวมจากการคั่งของของเหลว
และรักษาระดับความดันโลหิตของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ให้อยู่ในระดับปกติ
 
กรดอะมิโนจำเป็นมีความสำคัญต่อร่างกายหลายด้าน เช่น สังเคราะห์โปรตีน เสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
และเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยคนทั่วไปจะได้รับกรดอะมิโนจำเป็นอย่างเพียงพอ
โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริม หากมีข้อสงสัยหรือไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีโปรตีนได้
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและภาพจาก :
https://www.pobpad.com/กรดอะมิโนจำเป็นคืออะไร
 

 
เครียดสะสม ภาวะอันตรายทำลายสุขภาพ
ความเครียด (Stress) เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกเพศทุกวัย
ปัจจุบันนี้พบว่า คนส่วนใหญ่มักมีอาการเครียดสะสม อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตที่ตึงเครียด
บางรายมีความกดดันมาก และมีความคาดหวังในชีวิตสูงซึ่งพอไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง
ทำให้มีอาการเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน ในบางรายอาจจะเป็นโรคซึมเศร้า
(Depressive disorder) หรือ โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ได้ในอนาคต
 
สัญญาณของอาการเครียดสะสม
เมื่อเรามีภาวะเครียดมาก ๆ จะทำให้สุขภาพร่างกายแย่ลงเรื่อย ๆ ผู้ที่เริ่มสงสัยว่าตนเองมีอาการเครียดสะสมหรือไม่
สามารถสังเกตตนเองได้จากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป ส่วนใหญ่จะมีอาการดังนี้
 
- พฤติกรรมการนอนที่เปลี่ยนไป เช่น นอนไม่หลับ ตื่นเร็วเกินไป หรือ ชอบตื่นกลางดึก
- พฤติกรรมทางอารมณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น นิ่งเงียบ ไม่พูดคุย เบื่อหน่ายชีวิต วิตกกังวล
  และหน้าตาเศร้าหมอง ความต้องการทางเพศลดลง
- อาการเครียดที่แสดงออกทางกาย เช่น หายใจถี่ขึ้น หรือ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว
   บางรายมีอาหารปวดหัวร่วม
- ผู้ที่มีความเครียดสะสมมาก ๆ อาจมีอาการเครียดจนอยากตาย
 
ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อรู้สึกเครียด?
จัดการความเครียดด้วยตัวคุณเอง คำแนะนำในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเครียดสะสม
 
- พยายามมองโลกในแง่บวก วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และแก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั้น ๆ
- จัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวใหม่ เช่น การจัดบ้านใหม่ หรือ โต๊ะทำงาน เพื่อลดอาการเบื่อหน่าย หรือ ความจำเจ
- บำบัดตัวเองง่าย ๆ ด้วยสิ่งที่ตนเองชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง วาดภาพ ออกกำลังกาย
- ออกไปหาสถานที่ผ่อนคลาย เช่น ไปเที่ยวทะเล ไปเดินห้างสรรพสินค้า หรือ ไปสวนสาธารณะ
- พบปะเพื่อนฝูงหรือใช้เวลากับครอบครัว การที่เราสามารถพูดคุย หรือ ปรึกษาปัญหาที่เรากำลังเผชิญนั้น
   สามารถลดความเครียด ความกดดันในชีวิตได้
 
 
การรักษาอาการเครียดสะสม
ความเครียดสะสมเป็นภาวะที่สร้างความกังวลและรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ในบางรายที่มีอาการเครียดสะสมมากๆ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างได้
การไปพบจิตแพทย์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่หาทางออกจากภาวะเครียดสะสมไม่ได้
หลายคนมักเข้าใจว่าการไปพบจิตแพทย์ คือ เรามีภาวะจิตไม่ปกติ แต่ในความจริงแล้ว
การไปพบจิตแพทย์เป็นทางออกที่ดีที่สุดที่ช่วยให้เราบรรเทาอาการเครียดสะสม
ซึ่งจิตแพทย์จะให้คำปรึกษาและบำบัดให้เราอย่างถูกต้อง เพื่อคลายความเครียดอย่างถูกวิธีนั่นเอง
 
ยิ่งเครียด ยิ่งเสี่ยงโรค
ภาวะเครียดสะสมส่งผลร้ายต่อสุขภาพ และก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา โรคที่เกิดจากภาวะเครียดสะสม เช่น
 
-โรควิตกกังวล
-โรคกลัว (โฟเบีย)
-โรคแพนิค
-โรคเครียดที่มีอาการทางกาย
-โรคเครียดภวังค์
-โรคย้ำคิดย้ำทำ
-โรคซึมเศร้า
-โรคความดันโลหิตสูง
-โรคหัวใจ
-โรคเครียดลงกระเพาะ
-โรคนอนไม่หลับ
-โรคไมเกรน
 
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและภาพจาก :
https://www.sikarin.com/health/เครียดสะสม-ภาวะอันตรายท
โดย : โรงพยาบาลศิครินทร์
 

 
CALL CENTER : 084-467-7810
E-mail : ceo424d@hotmail.com
 
กาแฟคอลลาเจน , กาแฟลดน้ำหนัก , บอนแบค , bonboack
บริษัท ไก่ดำมหากิจ นิคมอุตสาหกรรมบางพลี ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10540
 
 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa