aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
 
ไข่มุก มหัศจรรย์แห่งความงาม
พูดถึง "ไข่มุก" เรามักจะคิดถึงเรื่องความสวยความงาม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับที่สวยงามส่องแสงสะท้อน
จากสายสร้อยคล้องคอหรือคล้องมือ หรือบางคนอาจคิดถึงเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของไข่มุก
ที่ใช้ทาบนใบหน้าแล้วทำให้ผิวสวยเนียน อ่อนนุ่ม ถนอมผิวพรรณ ความจริงไข่มุกมีคุณสมบัติทาง
ยาสมุนไพรจีนที่มีการบันทึกมานาน มีการใช้ผสมเป็นตัวยาในการรักษาโรคเหมือนสมุนไพรชนิดหนึ่ง
มีคุณสมบัติและสรรพคุณที่แน่นอน การคาดหวังผลของไข่มุกจึงจำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของไข่มุกด้วย
 
ไข่มุกเกิดขึ้นได้อย่างไร
ไข่มุกเกิดจาก "หอยนางรม" ที่อาศัยอยู่ใต้ท้องทะเลลึก ไข่มุกก่อตัวจากเม็ดทรายเล็กๆ
หรืออณูของเศษหิน หรืออาจเป็นชิ้นเล็กๆ ของเปลือกหอยนางรมเองที่ตกเข้าไปภายในหอย
ทำให้เกิดการระคายเคืองก่อความรำคาญ เช่นเดียวกับเวลามีผงเข้าตาเราจะมีน้ำตาไหล
เพื่อขับหรือชะล้างผงหรือสิ่งแปลกปลอมนั้นออก แต่หอยนางรมไม่สามารถจะชะล้าง
สิ่งแปลกปลอมออกได้ มันจะขับสารออกมาเคลือบสิ่งแปลกปลอมนั้นแทน สารดังกล่าวจะเกาะกันเป็นชั้นๆ
รอบสิ่งแปลกปลอมนั้น ชั้นแล้วชั้นเล่าจนเป็นไข่มุก สารแปลกปลอม ดังกล่าวเรียกว่า "แม่ไข่มุก"
ปัจจุบันมีการทำฟาร์มไข่มุก โดยการรวบรวมหอยนางรม (หอยมุก) ที่มีอายุน้อย แล้วค่อยๆ
แง้มเปลือกของมันออกมา แล้วใส่สิ่งแปลกปลอม หรือ "แม่ไข่มุก" ชิ้นเล็กๆ ลงไป
จากนั้นนำไปให้เติบโตในใต้ทะเลลึกที่มีอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมจึงจะเอาหอยขึ้นจากทะเล เพื่อนำมาแกะเอาไข่มุกออกมา
 
ส่วนประกอบของไข่มุก
- ไข่มุกมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งมีปริมาณมากกว่าร้อยละ ๙๐
- ส่วนที่เป็นสารอินทรีย์ประมาณร้อยละ ๐.๓๔
- นอกนั้นยังประกอบด้วยแมกนีเซียม เหล็ก เกลือซิลิเกท เกลือซัลเฟต เกลือฟอสเฟต
  และสารคลอไรด์ ซึ่งเป็นส่วนน้อย
- เมื่อทำการเผา เกลือคาร์บอเนตจะถูกทำลาย เกิดเป็นแคลเซียมคาร์ไบด์
  และสารอินทรีย์ก็จะถูกสลายไปด้วย
 
คุณสมบัติและสรรพคุณทางยาตามทฤษฎีแพทย์แผนจีนโดยธรรมชาติ ไข่มุกจะมีคุณสมบัติเย็น
มีรสออกหวานและเค็ม วิ่งเส้นลมปราณของตับและหัวใจ
 
สรรพคุณ
- ใช้รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร แผลอักเสบและเน่าเปื่อย
  ในกรณีที่มีการหลั่งกรดมากเนื่องจากมีภาวะร้อนในร่างกาย คุณสมบัติของไข่มุกสามารถ
  ป่วยแก้ปวด ลดกรด และมีฤทธิ์ในการห้ามเลือด ช่วยเพิ่มการแบ่งตัวของเนื้อเยื่อ
- ฤทธิ์ในการสงบประสาท คลายเครียด ทำให้นอนหลับ ใช้รักษาอาการใจสั่น นอนไม่หลับ
  ความจำเสื่อม สมองอ่อนล้า เด็กที่มีภาวะทางจิตบกพร่อง
-ใช้ทาภายนอก มีฤทธิ์ในการขับความชื้น พยุงรั้ง ทำให้ผิวมีน้ำมีนวล สามารถรักษาโรคคันที่ผิวหนัง
  ลมพิษ ลดการอักเสบ
- สงบตับ เพิ่มยิน ลดภาวะหยางสู่เบื้องบน คุณสมบัตินี้ใช้รักษาโรคหรือภาวะที่มียินพร่อง
  ทำให้หยางแกร่งและลอยสู่เบื้องบน หรือภาวะหยางของตับแกร่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการมึนงง
  ปวดศีรษะ มีเสียงดังในหู หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ ตรวจดูลิ้นมีสีแดง ฝ้าบนลิ้นน้อย ชีพจรตึง
 
ที่มาของข้อมูล : นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 250 เดือนกุมภาพันธุ์ 2543
คอลัมน์ : แพทย์แผนจีน
นักเขียนหมอชาวบ้าน : นพ.วิทวัส (ภาสกิจ) วัณนาวิบูล
 

 
5 โรคสำคัญทางจิตเวช ที่คนไทยควรรู้
 
1.โรคแพนิค
โรคแพนิคเป็นโรคตื่นตระหนก เกิดขึ้นจากระบบประสาทอัตโนมัติมีการทำงานที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้มีอาการแพนิค
ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว หายใจติดขัด จุกแน่น เวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม หรือเหมือนกับจะถึงชีวิต
โดยการเกิดครั้งแรกจะเกิดขึ้นเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีเรื่องกดดันหรือถูกกระตุ้นให้ตื่นตัว
เช่น เกิดขึ้นตอนกำลังจะขับรถขึ้นทางด่วน ทำให้ผู้ป่วยไม่กล้าขึ้นทางด่วน เป็นต้น และเมื่อมีครั้งที่ 1 มักมีครั้งที่ 2
และครั้งที่ 3 ตามมาเรื่อย ๆ กล่าวคือเมื่อเจอกับสถานการณ์กระตุ้นนั้นอีกครั้ง ก็จะมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอีก
อาการแพนิคแต่ละครั้งจะเป็น 10-20 นาที เมื่อหายก็จะหายปกติเลย
 
ความสำคัญของโรค เนื่องจากยังมีผู้ป่วยบางรายไม่รู้จักหรือยังขาดความรู้เกี่ยวกับโรคแพนิค
เมื่อมีอาการมักเข้าใจผิดและคิดว่าตนเองเป็นโรคทางกาย เช่น โรคหัวใจ
แต่เมื่อพบแพทย์แล้วตรวจคลื่นหัวใจจะพบว่าร่างกายปกติทุกอย่าง
และอาจต้องใช้เวลาอยู่นานกว่าจะรู้ตัวว่าตนเองป่วยด้วยโรคแพนิค ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่คนไทยควรทำความรู้จัก
 
2.โรคซึมเศร้า
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการหดหู่ ท้อแท้ เบื่อหน่าย รู้สึกไม่มีคุณค่าในตนเอง
บางรายอาจไม่รู้สึกเศร้าแต่จะเบื่อหน่ายทุกอย่างรอบตัว และไม่รู้จะอยู่ต่อไปเพื่ออะไร
ความสำคัญของโรคนี้คือผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง
 
3.โรคจิตเภท
ผู้ป่วยจะมีอาการประสาทหลอน หูแว่ว มีภาพหลอนเกิดขึ้น และจะแสดงออกโดยการพูดคนเดียว หัวเราะคนเดียว
มีความหลงผิดหรือหวาดระแวง เป็นนานเกิน 6 เดือน หากเป็นแล้วไม่รักษาตั้งแต่ต้น หรือปล่อยทิ้งไว้นาน
จะทำให้การรักษามีความยุ่งยาก และผลการรักษาไม่ดีนัก โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
แต่จะต้องใช้ยาไปตลอดชีวิต ปัญหาของโรคนี้คือผู้ป่วยบางรายเมื่อพบว่าตนเองอาการดีขึ้น มักคิดว่าหายแล้วและหยุดใช้ยา
ทำให้อาการกำเริบขึ้นมาอีก โดยอาการมักเกิดขึ้นเมื่อหยุดยาไปเป็นเวลาหลาย ๆ เดือน เช่น 6-7 เดือน
ผู้ป่วยจะต้องทำการเริ่มต้นรักษาใหม่ทั้งหมด
 
4.โรคไบโพลาร์
โรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ของผู้ป่วยมีลักษณะอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่าง
ช่วงซึมเศร้าและช่วงที่อารมณ์ดีเกินปกติ (ช่วงแมเนีย) โดยในช่วงซึมเศร้าจะมีอาการหดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง
อาการช่วงนี้จะเหมือนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาการจะคงอยู่ติดต่อกันนานหลายเดือนแล้วหายไปเหมือนคนปกติ
ก่อนจะเข้าสู่ช่วงอาการแมเนีย ซึ่งจะมีอารมณ์คึกคัก มีพลัง อยากทำหลายอย่าง กระฉับกระเฉง นอนน้อย ใจดี
มนุษยสัมพันธ์ดี อารมณ์ดี แต่มีปัญหาในเรื่องของการควบคุมอารมณ์ของตนเอง บางรายพบว่าอยากทำอะไรแล้วต้องได้ทำทันที
เช่น อยากไปเที่ยวต่างประเทศ ก็จัดการจองตั๋วเลยทั้งที่ยังไม่ทันลางาน เมื่อมีคนขัดใจผู้ป่วยจะฉุนเฉียวมาก หงุดหงิดง่าย
ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้เลย
 
5.โรคสมองเสื่อม
พบมากในคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ในคนที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมจะไม่ใช่คนที่หลงลืมในลักษณะใจลอย
เช่น วางกุญแจไว้แล้วลืมว่าตนเองวางไว้ตรงไหน แบบนั้นเป็นอาการใจลอย สมาธิไม่ได้อยู่กับเรื่องที่ทำ ณ ขณะนั้น
อาจมัวคิดถึงเรื่องอื่นอยู่ในขณะที่วางกุญแจ ทำให้หลงลืม แต่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม
โดยโรคนี้จะมีลักษณะคือไม่สามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ได้ หรือสามารถเล่าเรื่องในอดีตได้
แต่ไม่สามารถจำได้ว่าเมื่อเช้ากินอะไรมา เป็นต้น
 
การสังเกตคนรอบข้างที่มีอาการเกี่ยวข้องกับโรคจิตเวชเป็นเรื่องสำคัญ หากพบความผิดปกติของคนรอบข้าง
ที่มีลักษณะเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต เช่น ไม่สามารถไปทำงานได้ มีปัญหาด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น
พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม ลองให้คำปรึกษาก่อน หากพบว่าไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบแพทย์
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/5-โรคสำคัญทางจิตเวช-ที่ค/
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : ศ. นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
 
 

 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa