aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
 
ชื่อ : โกฐหัวบัว
ชื่ออื่น : ชวนซฺยง (จีนกลาง), ชวนเกียง (จีนแต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Szechwan Lovage Rhizome
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Conioselinum univitatum Trucz
วงศ์ : Umbelliferae
 
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย
โกฐหัวบัว มีกลิ่นหอม รสมัน สรรพคุณแก้ลมในกองริดสีดวง และกระจายลมทั้งปวง
(หมายถึงลมที่คั่งอยู่ในลำไส้เป็นตอน ๆ ทำให้ผายหรือเรอออกมา) ยาไทยมักไม่ใช้โกศหัวบัวเดี่ยว
แต่มักใช้ร่วมกับยาอื่นในตำรับ
 
ตำรายาไทย : เหง้า แก้ลมในกองริดสีดวง กระจายลมทั้งปวง
(หมายถึงลมที่คั่งอยู่ในลำไส้เป็นตอนๆทำให้ผายออกมา) ขับลม แก้ปวดศีรษะ
ปวดข้อ ปวดกระดูก จีนใช้โกฐหัวบัวเป็นยาแก้หวัด แก้ปวดศีรษะ
แก้โรคโลหิตจาง แก้ปวดประจำเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ ปวดเจ็บต่างๆรวมทั้งปวดฟัน
อาเจียนเป็นเลือด ไอ วัณโรค โรคเข้าข้อ ตกเลือด
 
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน
โกฐหัวบัว รสเผ็ด อุ่น มีฤทธิ์ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือด รักษาอาการปวดจากเลือดคั่ง
กระจายการตีบของเส้นเลือด (ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดประจำเดือน
ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด เจ็บชายโครงเจ็บบริเวณหัวใจ เจ็บหน้าอก เจ็บจากการฟกช้ำ
ช้ำบวมจากฝีหนอง) และมีฤทธิ์ขับลม บรรเทาปวด รักษาอาการปวดศีรษะ
อาการปวดจากการคั่งของชี่และเลือด
 
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
โกฐหัวบัวมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด บรรเทาอาการปวดหลังคลอด
ช่วยให้รกหรือเนื้อเยื่อของมดลูกที่ตายแล้วถูกขับออกมาได้ดี
สารสกัดมีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของมดลูก ทำให้ประจำเดือนมาเร็วขึ้น จึงไม่แนะนำให้ใช้
ขณะมีอาการปวดประจำเดือน หรือโรคที่เกี่ยวกับการตกเลือดอื่น ๆ
 
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
มีรายงานการวิจัย พบว่าลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้และมดลูก ป้องกันการขาดออกซิเจนในเลือด
ต้านปวด ต้านการอักเสบ ขับประจำเดือน ขับเหงื่อ และช่วยทำให้ระยะเวลานอนหลับได้นานขึ้น
 
แหล่งอ้างอิง
  1. The State Pharmacopoeia Commission of P.R. China. Pharmacopoeia of the People’s
      Republic of China. Vol.I. English Edition. Beijing: People’s Medical Publishing House, 2005.
  2. ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงศ์. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์.
      พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2548.
  3. เย็นจิตร เตชะดำรงสิน. การพัฒนาสมุนไพรแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร :
      สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2550.
  4. Gong QF. Zhongyao Paozhi Xue. 2nd ed. Beijing: National Chinese Traditional
      Medicine Publishing House, 2003.
  5. Liu TS, Pan QP, Zhou YS, Wu ZY. XiuZhen Zhongyaoyinpian Caise Tuben.
      1st ed. Hunan: Hunan Science & Technology Publishing House, 2006.
  6. Huang KC. The pharmacology of Chinese herbs. 2nd ed. Boca Raton: CRC Press, 1993.
  7.  Bensky D, Gamble A. Chinese herbal medicine: Materia medica, Revised edition.
      Washington: Eastland Press, 1993.
  8. Ye DJ, Zhang SC, Huang WL, Pan SH, Gong QF, Chen Q. Processing of traditional
      Chinese medicine. 7th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of
      Traditional Chinese Medicine, 2001.
  9.  Li R. Rhizoma Chuan Xiong. In: Wang BX, Ma JK, Zheng WL, Qu SY, Li R, Li YK (eds.).
      Modern study of pharmacology in traditional medicine. 2nd ed. Tianjin: Tianjin Science
      & Technology Press, 1999.
10. มงคล โมกขะสมิต, กมล สวัสดีมงคล, ประยุทธ สาตราวาหะ. การศึกษาพิษของสมุนไพรไทย.
      ใน: ปราณี ชวลิตธำรง, ทรงพล ชีวะพัฒน์, เอมมนัส อัตตวิชญ์ (คณะบรรณาธิการ).
      ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยาของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1.
      กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2546.
11. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 

 
โรคหลอดเลือดสมองตีบ
 
โรคหลอดเลือดสมอง หรือสโตร๊ก (Stroke) อาจฟังดูไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่าอัมพาต หลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดี
เพราะพบมาขึ้นทุกวันในสภาวะความเครียดทางเศรษฐกิจปัจจุบัน อัมพาตอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
แต่สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้สถิติตัวเลขของผู้ป่วยอัมพาตทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันคือ การที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง
เนื่องจากเกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่เป็นทางเดินของเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดอาการอัมพาตในระยะต่าง ๆ
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
 
อาการสมองขาดเลือด
อาการของโรคมีความรุนแรงแตกต่างกัน แยกได้เป็น 3 ระดับ
 
1. อาการน้อย คือ กลุ่มของผู้ที่มีหลอดเลือดสมองแตก หรือตีบตันเป็นหลอดเลือดขนาดเล็ก    
    ยังไม่เกิดการทำลายของเซลล์สมองในบริเวณนั้น สมองขาดเลือดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้เกิดอาการซึ่งอาจเป็นวินาที
    นาที หรือชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ลักษณะอาการประกอบด้วย กล้ามเนื้ออ่อนแรงจะเป็นที่แขนอย่างเดียว
    ขาอย่างเดียว หน้าและแขน การเคลื่อนไหวช้าลง ที่ใบหน้าจะเห็นมุมปากตก อมน้ำไว้ในปากไม่ได้ ความจำเสื่อมชั่วขณะ
    คิดอะไรไม่ออก พูดไม่ชัด เป็นต้น
2. อาการปานกลาง (อัมพฤกษ์) กลุ่มนั้นเซลล์สมองถูกทำลายไปแล้วบางส่วน แต่ไม่ทั้งหมด ภายหลังการรักษาแล้ว
    อาการอาจดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน 3-6 เดือน อาการมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด นอกจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้ว   
    ผู้ป่วยจะสูญเสียการทรงตัวบางขณะ มีอาการตามัวครึ่งตา หรือมืดไปข้างหนึ่ง สูญเสียความทรงจำ
    และความสามารถในด้านการคิดคำนวณ การตัดสินใจ และมักมีอาการทางอารมณ์ร่วมด้วย
    เช่น ซึมเศร้า หรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ
3. อาการรุนแรง (อัมพาต) กลุ่มนี้เซลล์สมองถูกทำลายโดยถาวร จะเกิดการอ่อนแรงของแขนและขา ขยับแขนหรือขาเองไม่ได้
   สูญเสียการทรงตัว พูดไม่ได้ หรือเปล่งเสียงออกมาจากลำคอไม่ได้ กล้ามเนื้อหน้าทำงานไม่เท่ากัน หนังตาตก กลอกตาไม่ได้
   กลืนอาหารลำบาก ปฏิกิริยาตอบสนองช้า สูญเสียความทรงจำ เป็นต้น
 
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคสมองขาดเลือด
1. ความดันโลหิต ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140-80 มิลลิเมตรปรอท (ค่าปกติ 140-80 มิลลิเมตรปรอท)
    จะทำให้สมองทำงานผิดปกติ หรือเกิดการแตกหรือตีบของหลอดเลือดสมอง
2. โรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดตีบแข็ง ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน เกิดเป็นอัมพาต
    (หากตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้ามากกว่า 110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มากกว่า 2 ครั้ง
    อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน)
3. ไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เป็นอัมพาตในเวลาต่อมา
4. สูบบุหรี่ ยิ่งสูบมากยิ่งเสี่ยงมาก เนื่องจากสารในบุหรี่หลายตัวเป็นตัวเร่งให้เกิดการระคายเคือง
    ของผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตันขึ้นได้
5. ขาดการออกกำลังกาย
6. ความเครียด ทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก หรือตีบตันเฉียบพลัน
7. โรคอ้วน
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/stroke
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
 
 

 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa